ทีแพค จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดทำคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-School Approach)

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค), นางสาวณัฐพร นิลวัตถา หัวหน้ากลุ่มงานวิเคราะห์สถานการณ์และนโยบาย, นายปัญญา ชูเลิศ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนา, นางสาวนันทวัน ป้อมค่าย และคณะวิจัยทีแพค เป็นวิทยากรนำกระบวนการระดมและรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายและนำนโยบายสู่การปฏิบัติจริงในโรงเรียน ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ห้องพระอินทร์ 2 กรุงเทพฯ

ภายในงานมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-School Approach) และการนำคู่มือไปใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันอาศรมศิลป์, วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.), สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายอนุบาลศึกษา, โรงเรียนบ้านห้วยไข่เน่า (เพ็ชร-เพี้ยน อนุสรณ์), โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปรือ, เพจ insKru และสถาบัน Play Academy

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติสำหรับโรงเรียน ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการนำแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-School Approach) ขององค์การอนามัยโลก ไปวางแผนกำหนดนโยบายโรงเรียน และร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชนไทย (พ.ศ. 2566 – 2573)

ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้ จะถูกนำไปสังเคราะห์และจัดทำเป็นคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-School Approach) สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์กับโรงเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้จริงกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพนักเรียน และส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนประเทศไทย

#PhysicalActivity #TPAK #กิจกรรมทางกาย #Wholeofschoolapproach

ภาพกิจกรรม

https://www.facebook.com/media/set/?vanity=IPSRMAHIDOLUNIVERSITY&set=a.888151253108952