เกี่ยวกับสถาบัน

สารจากผู้อำนวยการ

ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของสังคมโลกและสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา การพัฒนาองค์ความรู้ด้านประชากรและสังคมด้วยมุมมองโลกทัศน์และระเบียบวิธีวิจัยแนวทางใหม่ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็น เฉกเช่นเดียวกับการประยุกต์เชื่อมโยงองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นนั้นไปสู่การใช้ประโยชน์ ทั้งในเชิงวิชาการ นโยบาย และการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในทุกระดับ

ภารกิจสำคัญนี้ เป็นสิ่งที่ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดเป็นพันธกิจหลักขององค์กรในการดำเนินงานมาต่อเนื่องตลอดกว่า 50 ปี ที่ผ่านมา

การสูงวัยของประชากรและการเข้าสู่สังคมสูงอายุภายใต้เงื่อนไขที่จำนวนเด็กเกิดน้อยและการพัฒนาคุณภาพประชากรมีความสำคัญยิ่งขึ้น

ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นผลจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพและพฤติกรรมวิถีชีวิตของประชากร เช่น การบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย สุขภาพจิตและความสุขในการใช้ชีวิต รวมถึง สุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์

ความเหลื่อมล้ำและความเปราะบางหลากหลายมิติในแต่ละกลุ่มประชากร ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม เพศวิถีและเพศภาวะ

การย้ายถิ่น ความเป็นเมือง การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่ภาวะโลกรวน และสภาพสังคมที่ขับเคลื่อนสู่ความเป็นดิจิทัล การเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในทุกมิติวิถีชีวิตของคน และในแวดวงวิชาการการศึกษา

ประเด็นเหล่านี้เป็นโจทย์วิจัยที่สถาบันฯ ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้ผ่านกระบวนการวิจัย ที่จะบูรณาการเชื่อมโยงไปสู่การจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาสร้างบุคลากรการวิจัยทางประชากรและสังคมให้กับประเทศ และการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่การใช้ประโยชน์โดยเฉพาะเชิงนโยบายของทุกภาคส่วน

ทั้งหมดนี้ สถาบันฯ จะไม่เดินไปเพียงลำพัง แต่เราจะเดินไปด้วยกันกับเครือข่ายการทำงาน ทั้งภายในและต่างประเทศ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ภายใต้วิสัยทัศน์ของสถาบันฯ ในการเป็นสถาบันชั้นนำในระดับโลก ที่สรรสร้างวิทยาการด้านประชากรและสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน”

รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติความเป็นมา

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ก่อกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในคณะสาธารณสุขศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2509 โดยใช้ชื่อว่า “ศูนย์วิจัยประชากรและสังคม” และต่อมาได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2514 ให้เป็น “สถาบันวิจัยประชากรและสังคม” มีสถานภาพเทียบเท่าคณะ ๆ หนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อเริ่มก่อตั้งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ศาสตราจารย์นายแพทย์จรัส ยามะรัต ได้เป็นรักษาการผู้อำนวยการสถาบันฯ ทำหน้าที่กำกับ ดูแล บริหารงานของสถาบันฯ เรื่อยมาจนถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2517 จากนั้น ดร.บุญเลิศ เลียวประไพ ได้เป็นรักษาการผู้อำนวยการฯ ต่อมา จนกระทั่งได้รับแต่งแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ คนแรก เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2518

สถาบันฯ ได้มีการวางรากฐานในด้านต่างๆไว้อย่างมั่นคงในแต่ละยุคสมัย และมีการสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากร สังคมและเศรษฐกิจในระดับประเทศ ภูมิภาคเอเชีย และอื่นๆ

ปัจจุบันมีคณาจารย์ทั้งสิ้น 32 คน จบการศึกษาระดับปริญญาเอกทั้งหมด ในสาขาประชาการศาสตร์ สังคมศาสตร์ และอื่นๆ เช่น Area Studies, Business Administration, Economics, Environmental Sciences, Political Economy, Anthropology, Public Health เป็นต้น เป็นคนไทยและต่างชาติ มีนักวิจัย 12 คน ฝ่ายสนับสนุน และนักวิจัยโครงการ รวมบุคคลากรทั้งสิ้นประมาณ 130 คน

ความร่วมมือกับองค์กรทั่วโลก

สถาบันฯทำงานร่วมกับเครือข่ายในประเทศ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสถิติแห่งชาติ หน่วยงานเอกชน เช่น CP โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ และหน่วยงานต่างประเทศ ที่ทำงานร่วมกันในปัจจุบัน เช่น University of Sussex; University of California, Berkeley; Johns Hopkins University; University of Tempere; University of Bonn; Kobe University; INDEPTH Network และบุคลากรของสถาบันฯมีตำแหน่งที่สำคัญ ในสมาคมทางประชากรระดับนานาชาติ เช่น Member of council ของ IUSSP (International Union for the Scientific Study of Population) ก่อตั้งในยุโรปตั้งแต่ปี 1947 และ Member of council และ Executive Secretary ของ APA (Asian Population Association) และเป็นสถานที่ตั้งของสำนักงาน APA ที่ก่อตั้งในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ในปี 2004

สถาบันฯ มีศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังทางประชากร ที่วิทยาเขตกาญจนบุรี ก่อตั้งในปี 2547 สนับสนุนโดย Wellcome Trust


ดังนั้นก้าวต่อไปของสถาบันฯ คือดำเนินการต่อยอดความสามารถที่เป็นต้นทุน และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ภายใต้การบริหารแบบมุ่งเป้า มีธรรมาภิบาล ในรูปแบบเครือข่าย และสหสาขาวิชา และขับเคลื่อนด้วยบุคลากรที่มีความสามารถ ภายใต้ระบบสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีความสุข

จนถึงปัจจุบัน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มีผู้อำนวยการฯ ทำหน้าที่ในการบริหารงานตามลำดับ ดังนี้
– ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.บุญเลิศ เลียวประไพ 31 กรกฎาคม 2518 – 24 มิถุนายน 2523
– ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล 25 มิถุนายน 2523 – 22 สิงหาคม 2531
– ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ 23 สิงหาคม 2531 – 22 สิงหาคม 2539
– ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์ 23 สิงหาคม 2539 – 22 สิงหาคม 2547
– ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา 23 สิงหาคม 2547 – 20 กุมภาพันธ์ 2551
– รองศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง 21 กุมภาพันธ์ 2551 – 20 กุมภาพันธ์ 2559
– รองศาสตราจารย์ ดร.รศรินทร์ เกรย์ 21 กุมภาพันธ์ 2559 – 20 กุมภาพันธ์ 2563
– รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย 21 กุมภาพันธ์ 2563 – 20 กุมภาพันธ์ 2567

และปัจจุบันนี้ผู้อำนวยการสถาบันฯ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์

กว่า 40 ปีที่ได้เริ่มก่อตั้งสถาบันฯ ขึ้นมา บุคลากรชาวสถาบันฯ ทุกคนมีความมุ่งมั่นในการการปฏิบัติตามภารกิจหลัก คือ 1) งานศึกษาวิจัยเพื่อสร้างความรู้ ทางด้านประชากร และสังคมอย่างต่อเนื่อง 2) งานสอนและฝึกอบรม เพื่อ สร้างคน ให้มีความรู้ทางด้านการวิจัยประชากรและสังคม โดยเปิดการเรียนการสอนทั้งระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต 3) งานบริการวิชาการ โดยการนำความรู้และประสบการณ์ตามความถนัดของสถาบันฯ ขยายผลออกไปเพื่อ สร้างสังคม ทั้งด้วยการจัดฝึกอบรมระยะสั้น การเผยแพร่ความรู้ข่าวสารด้านประชากรและสังคมในรูปแบบต่างๆ และการเป็นที่ปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นๆ ฯลฯ

ผู้อำนวยการฯ จากอดีตถึงปัจจุบัน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

ดร.บุญเลิศ เลียวประไพ

31 กรกฎาคม 2518 – 24 มิถุนายน 2523

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล

25 มิถุนายน 2523 – 22 สิงหาคม 2531

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์

23 สิงหาคม 2531 – 22 สิงหาคม 2539

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

ดร.เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์

23 สิงหาคม 2539 – 22 สิงหาคม 2547

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา

23 สิงหาคม 2547 – 20 กุมภาพันธ์ 2551

รองศาสตราจารย์

ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง

21 กุมภาพันธ์ 2551 – 20 กุมภาพันธ์ 2559

รองศาสตราจารย์

ดร.รศรินทร์ เกรย์

21 กุมภาพันธ์ 2559 – 20 กุมภาพันธ์ 2563

รองศาสตราจารย์

ดร.อารี จำปากลาย

21 กุมภาพันธ์ 2563 – 20 กุมภาพันธ์ 2567

รองศาสตราจารย์

ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์

21 กุมภาพันธ์ 2567 – ปัจจุบัน

ปณิธาน

คุณภาพ คุณธรรม นำสถาบันฯ

วิสัยทัศน์

เป็นสถาบันชั้นนำในระดับโลก ที่สรรสร้างวิทยาการด้านประชากรและสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม 2564-2568

เป้าประสงค์ (Goal)

วิจัยด้านประชากรศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับโลก (World class demographic and social science research and innovation)

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic goals)
  1. เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
  2. เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อนโยบายและตอบสนองความต้องการของสังคมทุกระดับ
  3. เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการที่สนับสนุนงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)
กลยุทธ์ (Strategic initiatives)
  1. สร้างกลุ่มวิจัยที่ประกอบด้วยนักวิจัยหลายรุ่นและมีความเป็นสหสาขา
  2. มีกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยทุกรุ่นอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
  3. สนับสนุน Global Connectivity ด้วยการสร้างความร่วมมือวิจัยกับสถาบัน/โครงการวิจัยระดับนานาชาติแบบสหสถาบันที่มี Global Impact
  4. สนับสนุนการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการเชิงนโยบายและความต้องการของสังคมทุกระดับ
  5. สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำวิจัยและการสร้างนวัตกรรมทางสังคม
  6. สรรหานักวิจัยสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของงานวิจัย
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
  1. ร้อยละของบุคลากรสายวิชาการที่เป็น PI
  2. ผลงานวิจัยถูกอ้างอิงโดย International Organization
  3. ผลงานวิจัยที่นำไปใช้
    • a. เป็นนโยบายระดับชาติ
    • b. ประโยชน์ในสังคม
    • c. ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
  4. Citation per publication
  5. International Publication
  6. International Publication per academic staff
  7. จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ (Publication) ที่ตีพิมพ์ร่วมกับนักวิจัยต่างชาติ
  8. จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ (Publication) ที่ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ใน Q1
  9. จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยในปีงบประมาณต่อจํานวนบุคลากรสายวิชาการ
  10. จำนวนนักวิจัยสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
เป้าประสงค์ (Goal)

เพื่อสร้างบัณฑิตให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในทุกระดับ

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic goals)
  1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรที่มีความหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้เรียน
  2. เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีสมรรถนะพลเมืองโลก ( Global citizen competence)
กลยุทธ์ (Strategic initiatives)
  1. พัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษาที่ตอบสนองต่อกระบวนการจัดการเรียนแบบ: Learning Centered Education, Outcome-based Education และ Constructivism)
  2. ผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากลและพัฒนาหลักสูตรบูรณาการที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย ระหว่างสาขาวิชาต่างๆ
  3. พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคนวัยแรงงานและผู้สูงอายุ
  4. สร้างสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological environment) ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีบรรยากาศความเป็นนานาชาติ
  5. พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้ตอบสนองต่อการเป็นพลเมืองโลกและมีสมรรถนะสากล
  6. ส่งเสริมเชิงรุกและสนับสนุนเครือข่ายศิษย์เก่า เพื่อร่วมพัฒนานักศึกษาและมหาวิทยาลัย   
  7. พัฒนาช่องทางการเข้าถึงการศึกษา (Platform) ที่หลากหลายรูปแบบ
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
  1. ร้อยละของอาจารย์ที่มีระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ (อย่างน้อยระดับ 2 อาจารย์เป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือผู้อื่นได้) (MUPSF – Professional Standard Framework)
  2. ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล
  3. ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการตรวจประเมินโดยมหาวิทยาลัย
  4. ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการตรวจประเมินภายในโดยสถาบัน
  5. ร้อยละของหลักสูตรยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการ (Flexi programs)
  6. ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความเป็นนานาชาติครบ 3 ด้าน (การศึกษา วิจัย และการเคลื่อนย้ายนักศึกษา)
  7. จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง inbound และ outbound
  8. ร้อยละของกิจกรรม/โครงการที่จัดกระบวน การพัฒนานักศึกษาที่ตอบสนองต่อการมีสมรรถนะพลเมืองโลก
  9. ความพึงพอใจของนายจ้างต่อคุณภาพบัณฑิต (ร้อยละที่ตอบระดับ มาก-มากที่สุด)
  10. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ศิษย์เก่ากลับมาพัฒนาสถาบัน
  11. ความผูกพันของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่มีต่อสถาบัน (ร้อยละที่ตอบระดับ มาก-มากที่สุด)
  12. บทเรียนหรือรายวิชาที่เป็น e-Learning (ร้อยละต่อรายวิชาทั้งหมดของสถาบัน) 
เป้าประสงค์ (Goal)

มีความเป็นเลิศในการบริการวิชาการและเป็นผู้กำหนดทิศทางสังคม (Trendsetter) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic goals)
  1. เพื่อเป็นผู้นำด้านนโยบายประชากรและสังคมระดับชาติและนานาชาติ
  2. เพื่อให้สถาบันมีศูนย์บริการวิชาการด้านประชากรและสังคมที่เป็นเลิศในระดับชาติและนานาชาติ (Academic Services Center)
กลยุทธ์ (Strategic initiatives)
  1. สนับสนุนการขับเคลื่อน Policy Advocacy
  2. มุ่งจัดการบริการวิชาการที่มีมาตรฐาน
  3. สร้างระบบบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศด้านการบริการวิชาการ
  4. ขยายศักยภาพและการเข้าถึงบริการวิชาการที่มีคุณภาพออกไปสู่กลุ่มเป้าหมายในทุกระดับ
  5. ร่วมกับพันธมิตรในการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการวิชาการ วิจัย และนวัตกรรมทางสังคม
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
  1. จำนวนโครงการบริการวิชาการที่นำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
  2. การเป็นสมาชิกองค์กรบริการวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
  3. จำนวนแบบวัดมาตรฐานระดับชาติที่ถูกสร้างโดยสถาบัน
  4. จำนวนโครงการบริการวิชาการ
  5. จำนวน Platform ที่เป็นช่องทางให้บริการวิชาการ
  6. จำนวนชิ้นงาน/คู่มือ/หลักสูตรที่เป็นนวัตกรรมทางสังคม
  7. ร้อยละของรายได้สถาบันฯ ที่รับจากโครงการบริการวิชาการ
เป้าประสงค์ (Goal)

การบริหารจัดการเพื่อพึ่งพาตนเองและมีความยั่งยืน

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic goals)
  1. เพื่อพัฒนาสถาบันให้มีธรรมาภิบาล
  2. เพื่อให้เป็นสถาบันที่มีโครงสร้างและระบบงานที่ตอบสนองต่อพันธกิจหลัก และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สถาบัน
  3. เพื่อให้บุคลากรมีศักยภาพตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของสถาบัน
  4. เพื่อให้สถาบันเป็น Digital – based organization    
  5. เพื่อให้สถาบันเป็น Eco organization
  6. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันให้โดดเด่นทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ (Strategic initiatives)
  1. สร้างระบบการสื่อสารสองทาง และผลักดันให้มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างทั่วถึง
  2. สื่อสารและสร้างความเข้าใจแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันให้บุคลากรเกิดความเข้าใจและขับเคลื่อนร่วมกัน
  3. พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินของสถาบันให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
  4. เพิ่มขีดความสามารถและสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ และการบริหารสินทรัพย์ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
  5. พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีดีจิทัลเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักและพันธกิจสนับสนุนอื่นๆ รวมถึงการสร้างฐานข้อมูลกลางด้านการวิจัยและบริการวิชาการ
  6. เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและระบบสาธารณูปโภคที่ลด carbon footprint และส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  7. ใช้ระบบประกันคุณภาพระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสร้างการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน
  8. สร้างคู่พันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับมหาวิทยาลัย/หน่วยงานระดับโลก (Strategic Partner)
  9. ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของสถาบันอย่างมียุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
  1. ร้อยละความสำเร็จของโครงการตามยุทธศาสตร์สถาบัน
  2. ร้อยละของบุคลากรที่เป็น Global Talents (ด้านการศึกษา วิจัย และสายสนับสนุน)
  3. มีค่า EBITDA เป็นบวก
  4. มีค่า Net Income เป็นบวก
  5. มีค่า ROA มากกว่าร้อยละ 5
  6. จำนวนโครงการสร้างเสริมความเป็นนานาชาติกับคู่พันธมิตรทางยุทธศาสตร์
  7. สถาบันได้รับคะแนนการประเมิน EdPEx ตาม PA
  8. จำนวนโครงการพันธกิจสัมพันธ์สถาบันกับสังคม (IPSR Social Engagement) ที่ดำเนินการครบตามเกณฑ์ 4 ด้าน

วัฒนธรรมองค์กร (Core Values)

I: Integrity (ความมีคุณธรรม)
P: Professionalism (ความเป็นมืออาชีพ)
S: Synergy (การรวมพลัง)
R: Responsibility (ความรับผิดชอบ)