ศูนย์วิจัย
ศูนย์ศึกษาการย้ายถิ่นมหิดล (MMC)
ศูนย์ศึกษาการย้ายถิ่นมหิดล (MMC) เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม (IPSR) และได้รับทุนสนับสนุนในขั้นต้นจากมูลนิธ Rockefeller Foundation MMC นำความพยายามของ IPSR มาให้ความสำคัญกับกองกำลังที่ส่งผลกระทบต่อการย้ายถิ่นในภูมิภาค และช่วยเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ศูนย์ทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักสำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นที่จัดทำโดย IPSR และพันธมิตร จุดประสงค์คือเพื่อรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลการย้ายถิ่นจำนวนมากที่มีอยู่ เพื่อร่วมมือกับพันธมิตรและองค์กรเพื่อสร้างเครือข่ายภายในและภายนอกสำหรับการกำหนดทฤษฎีและนโยบาย เพื่อทำหน้าที่เป็นเวทีสนับสนุน และเพื่อช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของทรัพยากรเพื่อปรับปรุงความผาสุกทางร่างกายและจิตใจของผู้ย้ายถิ่นทั้งในและต่างประเทศ MMC ร่วมกับ IPSR และมหาวิทยาลัยมหิดลถือคุณค่าหลักด้านมนุษยธรรมนี้ พร้อมกับเป้าหมายของการมีส่วนร่วมในความร่วมมือแบบสหวิทยาการและระหว่างประเทศอย่างสุดซึ้ง
ไปยังเว็บไซต์MMC-JRU
การศึกษาเกี่ยวกับการย้ายถิ่นถือเป็นแนวหน้าของการวิจัยของ IPSR นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2514 ศูนย์การย้ายถิ่นฐานมหิดล – หน่วยวิจัยร่วม (MMC-JRU) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2565 เป็นหน่วยย่อยของศูนย์การย้ายถิ่นฐานมหิดล ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการย้ายถิ่น -ข้อมูลและการวิจัยที่เกี่ยวข้องที่จัดทำโดย IPSR และพันธมิตร MMC-JRU ได้จัดให้มีการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในรูปแบบของการหารือเชิงนโยบาย การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการฝึกอบรมด้านเทคนิค นอกจากนี้ ยังเผยแพร่บทสรุปการวิจัย รายงาน บทสัมภาษณ์ พอดแคสต์ และเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิแรงงานข้ามชาติ การค้ามนุษย์ สาธารณสุขของผู้อพยพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหัวข้อสำคัญอื่นๆ เกี่ยวกับการย้ายถิ่นภายในและนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับผู้ที่สนใจกิจกรรมของ MMC-JRU สามารถดูได้ที่หน้าฐานข้อมูลและกิจกรรมต่างๆ บนเว็บไซต์ (https://www.mahidolmigrationcenter-jointresearchunit.org/)
ไปยังเว็บไซต์ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK)
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (Thailand Physical Activity Knowledge Development Centre : TPAK) เป็นศูนย์วิชาการภายใต้โครงสร้าง การบริหารของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีที่ปรึกษาและคณะกรรมการกำกับทิศทางให้ข้อแนะนำ คำปรึกษา ตลอดจนการออกแบบการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ ให้เป็นไปตามแนวทางการขับเคลื่อนและการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามเป้าหมายระดับชาติ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย เป็นหน่วยงานอ้างอิงข้อมูลและองค์ความรู้จากการวิจัยทางด้านกิจกรรมทางกายในมิติทางประชากรศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนองค์ความรู้ และสร้างพื้นที่ทางวิชาการ สำหรับการทำวิจัยทางด้านกิจกรรมทางกายในประเด็นที่เกี่ยวข้อง จัดทำฐานข้อมูล รวมถึงวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการสื่อสารสาธารณะ และการสื่อสารทางนโยบายที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทยเพื่อการมีสุขภาวะแบบองค์รวม
ไปยังเว็บไซต์ศูนย์ศตวรรษิกชน (TCC)
“ศูนย์ศตวรรษิกชน” ได้จัดตั้งโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุและศตวรรษิกชน หรือประชากรที่มีอายุร้อยปีขึ้นไปในประเทศไทย ข้อมูลที่จะรวบรวมไว้ในศูนย์ฯ นี้ประกอบด้วย เรื่องราว บทความ สถิติตัวเลข คำศัพท์ ข่าวสารความรู้ ที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุและคนร้อยปีในประเทศไทย อีกทั้งยังมี “กระดานข่าว” ที่เปิดให้ผู้สนใจเรื่องผู้สูงอายุ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุและศตวรรษิกชนได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และความคิดเห็นระหว่างกัน นอกจากนั้นศูนย์ศตวรรษิกชนจะได้รวบรวมข้อมูลชีวิตความเป็นอยู่ และวิถีปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของศตวรรษิกชนไทยอีกด้วย
ไปยังเว็บไซต์ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย (TCHS)
ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย (Thailand Center for Happy Worker Studies: TCHS) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้ การสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาคุณภาพชีวิต ความผูกพัน และความสุขในกลุ่มคนทำงาน ได้ดำเนินการวิจัยพัฒนา วิจัยปฏิบัติการ งานวิจัยติดตามประเมินผล เพื่อพัฒนาสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและความสุขของคนทำงาน (ในองค์กร) ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาเครื่องมือประเมินความสุขของคนทำงานที่ชื่อว่า HAPPINOMETER ขึ้น ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือหลักในการประเมินและติดตามสถานการณ์คุณภาพชีวิตและความสุขของคนทำงานในประเทศ ทั้งในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ตามแนวคิดความสุข 8 ประการ หรือ HAPPY8+ ซึ่งประกอบด้วย 1) สุขภาพกายดี 2) ผ่อนคลายดี 3) น้ำใจดี 4) จิตวิญญาณดี 5) ครอบครัวดี 6) สังคมดี 7) ใฝ่รู้ดี 8) สุขภาพเงินดี และ 9) การงานดี (ความพึงพอใจ ความผูกพัน และสมดุลชีวิตกับการทำงาน) ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ได้ฐานข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต ความสุข และความผูกพันในองค์กรของคนทำงานในประเทศไทย
ไปยังเว็บไซต์The Kanchanaburi Project
The Kanchanaburi Project, being a member of the INDEPTH network and implemented by IPSR, was established with a 1999 Wellcome Trust Award to IPSR as a Center for Research Excellence.
The field research centre is located at the new Mahidol University campus in Saiyok district, Kanchanaburi province, about 200 kilometers west of Bangkok.
The field centre is dedicated to the monitoring of population change and the evaluation of the effects of intervention based research. The core research activity is the creation of a database on the demographic, health, social and economic composition of the target population. Associated research projects are in the areas of improving adolescent reproductive health outcomes; illegal migrants and health care; population and environment; arrangements for the care of the elderly; family formation, vital events and their registration; social roles and mortality. The results of the research will be used in formulating and modifying related policies. This field centre will also be used for training Ph.D. and MA.students as well as participants in short courses, both from Thailand and other countries, in monitoring and evaluation methods. Students and trainees will be encouraged to utilize the data from the core and associated research projects.
Visit website