โครงการวิจัยระบบการจัดการอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่  และมาตรการลดการเข้าถึงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของคนไทย

โครงการวิจัยระบบการจัดการอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ และมาตรการลดการเข้าถึงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของคนไทย

หัวหน้าโครงการ: สิรินทร์ยา พูลเกิด
ระยะเวลา: เมษายน 2566 – พฤศจิกายน 2567
นักวิจัย: สรัญญา สุจริตพงศ์, จงจิตต์ ฤทธิรงค์, พจนา หันจางสิทธิ์, มนสิการ กาญจนะจิตรา, นงนุช จินดารัตนาภรณ์, ประทีป นัยนา, จารุวรรณ จารุภูมิ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อวิเคราะห์วิธีปฏิบัติจัดชื้อจัดจ้างโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนเพื่อเชื่อมโยงระบบอาหารชุมชน
  2. เพื่อวิเคราะห์ความเป็นธรรมในห่วงโซ่อุปทานอาหารด้วยกลไกตลาดเขียว
  3. เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของมาตรการส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ในประชากรไทย
  4. เพื่อวิเคราะห์มาตรการเพิ่มพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้ในกลุ่มเยาวชนไทย โดยใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์
  5. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบและติดตามการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพต่อเด็กไทย
  6. เพื่อติดตามและประเมินการดำเนินงานในวัตถุประสงค์ 1-5 และสื่อสารและสนับสนุนข้อมูลวิชาการ เพื่อใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพและลดการเข้าถึงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของประชากรไทย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. วิธีปฏิบัติและโครงสร้างสำหรับ การจัดชื้อจัดจ้างของโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนในปัจจุบัน ที่สามารถเชื่อมโยงการใช้ผลิตวัตถุดิบจากระบบอาหารชุมชน
  2. ความเป็นธรรมในห่วงโซ่อุปทานอาหารที่มีตลาดเขียวเป็นกลไกในการรับผลผลิตจากเกษตรกรและกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภค รวมทั้งความคาดหวังและการตอบสนองที่ได้รับจากการเข้าร่วมตลาดเขียวของเกษตรกรและผู้ขาย
  3. ความคุ้มค่าของมาตรการส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ในประชากรไทย
  4. เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้โดยใช้แนวคิด เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์
  5. นำเสนอผลกระทบของการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีต่อเด็กและจัดทำข้อมูลพื้นฐาน (baseline data) ให้แก่ผู้กำหนดนโยบาย ทางด้านการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มในดำเนินการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มฯ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
  6. เพื่อให้เกิดการติดตามความก้าวหน้าของทุก โครงการย่อย 1-5 เพื่อเกิดความเชื่อมโยงของงานวิจัยกับกระบวนการนโยบายและการทำงานของสสส.และภาคี โดยงานวิจัยแต่ละเรื่องจะช่วยผลิตข้อมูลให้สสส.ได้นำไปใช้ประกอบการขับเคลื่อนงานด้านอาหารและโภชนาการให้มีประสิทธิภาพในลำดับต่อไป
  7. เพื่อสื่อสารและสนับสนุนข้อมูลวิชาการ เพื่อใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพและลดการเข้าถึงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของประชากรไทย