สังคมสูงวัย เรื่องที่ต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่วัยทำงาน

รองศาสตราจารย์ ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงสร้างประชากรไทยในอนาคต เข้าสู่ภาวะคนสูงอายุเพิ่มขึ้น ประชากรวัยเด็ก อีกใน 20 ปีข้างหน้า จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลประชากรวัยทำงานที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุต่อไป ซึ่งจะไม่ใช่การที่ต้องดูแลสมาชิกในครัวเรือนเท่านั้น แต่จะต้องสร้าง GDP ในระบบเศรษฐกิจของประเทศที่จะนำมาดูแลผู้สูงอายุในภาพรวมอีกด้วย จากสถิติอัตราการเกิดในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 500,000 คนต่อปี แต่จำนวนผู้สูงอายุค่อนข้างมีจำนวนมาก ในอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นเป็น 30% ของประชากร หรือ 1 ใน 3 ซึ่งจะเป็นจำนวนค่อนข้างมากในสังคม

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมที่เรียกว่า Aged society หรือสังคมสูงวัยระดับสมบูรณ์ ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2565 โดยเทียบจำนวนผู้สูงอายุกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ กล่าวคือ Aged society จะมีจำนวนผู้มีอายุ 60 ปี เกิน 20% และมีจำนวนผู้มีอายุ 65 ปี เกิน 14% จะเห็นว่ามีจำนวนมากกว่ายุคก่อนหน้าที่เรียกว่า Aging society คือสังคมกำลังจะสูงวัย ซึ่งมีจำนวนผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอยู่ประมาณ 10% หรือ 65 ปีขึ้นไป 7% และในอนาคตประเทศไทยอีก 10 ปีข้างหน้า จะเข้าสู่สังคมที่เรียกว่า Super aged ซึ่งมีจำนวนผู้ที่มีอายุ 60 ปี เกิน 25%

อ่านต่อได้ที่ ผู้จัดการออนไลน์: https://mgronline.com/qol/detail/9660000092535
เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2566