กลุ่มวิจัยที่ 4: ประชากร, สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ
Food Policy
Sirinya Phulkerd
Cluster Coordinator
Email: sirinya.phu@mahidol.ac.th
Physical Activity
Piyawat Katewongsa
Cluster Coordinator
Email: piyawat.kat@mahidol.edu
Environment
Marc Voelker
Cluster Coordinator
Email: marc.voe@mahidol.edu
Population Wellbeing
Charamporn Holumyong
Cluster Coordinator
Email: charamporn.hol@mahidol.ac.th
กรอบการวิจัยของกลุ่มประชากร สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ มุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อสุขภาพ หรือสุขภาวะของประชากร ทั้งนี้เนื่องมาจากความคิดที่ว่าปริมาณทรัพยากรธรรมชาติและอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ถ้าหากจำนวนผู้บริโภคมีมากเกินกว่าที่ทรัพยากรธรรมชาติที่ ดำรงอยู่ ทรัพยากรและอาหารที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอต่อการบริโภค ประกอบกับการเพิ่มประชากรและการตั้งถิ่นฐานจำนวนมากได้ส่งผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะมีการถาง ป่ามากขึ้นเพื่อเพิ่มที่ดินทำกิน และการมีผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากเข้าไปหางานทำในเมืองก็ก่อให้เกิดความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น มีการเดินทางและใช้ยานพาหนะมากขึ้นและก่อให้ เกิดปัญหามลพิษทั้งมลพิษทางน้ำและมลพิษทางอากาศ กรอบการศึกษาจะครอบคลุมทั้งเมืองและชนบท โดยประชากรและสิ่งแวดล้อมในเมืองจะเป็นการทำความเข้าใจการ เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี มลพิษและผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในเมืองที่เชื่อมโยงกับเรื่องการ เผาผลาญพลังงาน พฤติกรรมการใช้ยานพาหนะ การใช้ชีวิตของคนในเมือง การขาดแหล่งพลังงานทดแทน การจัดการขยะ ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดสะสม ที่เกิดขึ้นจากสิ่ง แวดล้อมทางเศรษฐกิจการเมืองและการบริโภค
ส่วนประชากรและสิ่งแวดล้อมในชนบท จะเน้นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในชนบทที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการลดลงของผลผลิต การทำให้ปริมาณอาหารลดลงและ ส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศในอนาคต การย้ายถิ่นเพื่อทำงานในเมือง และปรากฎการณ์ทางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงโดยส่งผลต่อสุขภาพของ ประชากรในกลุ่มอายุและกลุ่มอาชีพและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อที่จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ที่เชื่อมโยงระหว่างทางปัจจัยประชากรที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือสุขภาวะและความเจ็บป่วยของประชากร
แนวคิดในการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่าง ประชากร สิ่งแวดล้อม และสุขภาพที่ควรกล่าวถึงคือผลการศึกษาของมัลทัส (Malthus 1798)นั้นได้กล่าวว่าทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมจะเพิ่มขึ้นแบบอนุกรมเลขคณิต (1, 2, 3, 4…) ในขณะที่จำนวนประชากรโลกนั้นเพิ่มแบบอนุกรมเรขาคณิต (2, 4, 8, 16…) ผลที่ตามมาก็คือจำนวนประชากรจะมีมาก กว่าอาหารที่ผลิตได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความอดอยากแร้นแค้น อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ไม่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่และการใช้เทคโนโลยี่ในการผลิต ซึ่งต่อมาโบเซอรับ (Boserup, 1965) ได้เน้นให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยี่ในการผลิตจะช่วยให้ปริมาณอาหารมีเพียงพอต่อการบริโภคสำหรับประชากรได้อย่างไม่ขาดแคลน อย่างไรก็ตามเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่ มีการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรม และถ้ามีการใช้ทรัพยากรอย่างไร้ขอบเขตแล้ว ก็จะส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติคือ น้ำท่วม ความแห้งแล้ง ทรัพยากร ธรรมชาติเสื่อมโทรม เกิดความยากจน และผู้คนเจ็บป่วย ขาดแคลนที่ดินทำกินในชนบท และปัญหามลภาวะในเมืองจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในกรณีนี้ทั้ง อีริช และ โฮลเดรน (Ehrlish and Holdren, 1974) ได้เน้นว่าปัจจัยทางประชากร เช่น ขนาดประชากร อัตราการเพิ่มประชากร และความหนาแน่นประชากรต่อพื้นที่มีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ระดับการบริโภค และเทคโนโลยี่ และส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม โดยสรุปเป็นโมเดลได้ว่า I = P A T ซึ่งอธิบายว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (I) เป็นผลของขนาดประชากร (P) คูณด้วยระดับการบริโภค (A ) และคูณด้วยระดับของเทคโนโลยี่ (T) ต่อมาบิลส์บอร์โรว์ (Billsborrow, 1992) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ทำหน้า ที่เป็นปัจจัยตัวกลาง (Intermediate factors) เชื่อมโยงระหว่างปัจจัยทางประชากรและสิ่งแวดล้อม โดยที่ปัจจัยทางประชากรอาจไม่ส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของสภาพ แวดล้อมโดยตรง
ส่วนในการศึกษาในประเทศไทยในบริบทของความเชื่อมโยงระหว่างประชากร สิ่งแวดล้อม และสุขภาพนั้นยังมีอยู่น้อยมาก การศึกษาทางประชากรและสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ เน้นความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนในการใช้ทรัพยากรและการครอบครองที่ดิน การแก้ปัญหาความขัดแย้ง แต่ไม่ได้มีการเชื่อมโยงของปัจจัยทางประชากร และ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามก็ได้มีการศึกษาของทีดีอาร์ไอ(2532) พบว่าความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2503 – 2531 มาจากปัจจัยคือความหนาแน่นทางประชากรต่อพื้นที่ และการเพิ่มประชากร เป็นปัจจัยหลัก (Principal factors) ที่ทำให้ป่าเสื่อมโทรมในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งถือได้ว่าเป็นงานวิจัยที่ได้การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากรกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมแต่ก็ไม่ได้วิเคราะห์ความ หนาแน่นประชากรและการเพิ่มประชากรจำนวนมากเท่าใดที่ส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้อย่างมีนัยสำคัญ ต่อมาการศึกษาของเจิมศักดิ์ ปิ่นทองและคณะ (2534) และ การศึกษาของ อานันท์ กาญจนพันธุ์และคณะ (2535) ก็พบว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการขายตัวทางการตลาดเป็นเงื่อนไขสำคัญในการผลักดันให้เกิด การย้ายถิ่นเข้าไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ป่า การปลูกพืชเชิงเศรษฐกิจที่เป็นสินค้าส่งออกส่งผลทำให้เกิดมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกและมีการใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืชอย่างเข้มข้น เพื่อเพิ่มผลผลิต ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของดินและสภาพแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ