ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2558

 Download

ประชากรคาดประมาณ ณ กลางปี 2558 (1 กรกฎาคม)

วัตถุประสงค์

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม จัดพิมพ์ “สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล” ในเดือนมกราคมของทุกปี ทั้งฉบับภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ดัชนีทางประชากร โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ล่าสุดนำมาคาดประมาณประชากรของแต่ละปี ดังนั้น จึงไม่ควรนำตัวเลขคาดประมาณจาก “สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล” ปีต่างๆ ไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวโน้มทางประชากร

แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการคาดประมาณ

  • สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  • รายงานการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2555 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  • การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 โดยคณะทำงานคาดประมาณประชากร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • ข้อมูลการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
   

ชาย

หญิง

รวม

1. จำนวนประชากรทั้งประเทศ (หน่วยเป็นพัน) 31,638 33,466 65,104
2. จำนวนประชากรแยกตามที่อยู่อาศัย (หน่วยเป็นพัน)      
  เขตเมือง (ประชากรที่อยู่ในเขตเทศบาล และเมืองทุกประเภท) 15,018 15,955 30,973
  เขตชนบท (ประชากรที่อยู่นอกเขตเมือง) 16,620 17,511 34,131
3. จำนวนประชากรแยกตามภาค (หน่วยเป็นพัน)      
  กรุงเทพมหานคร 3,867 4,175 8,042
  ภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพฯ) 8,898 9,450 18,348
  ภาคเหนือ 5,490 5,785 11,275
  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9,069 9,545 18,614
  ภาคใต้ 4,314 4,511 8,825
4. จำนวนประชากรแยกตามกลุ่มอายุ (หน่วยเป็นพัน)      
  ประชากรวัยเด็ก (ต่ำกว่า 15 ปี) 6,026 5,766 11,793
  ประชากรวัยแรงงาน (15-59 ปี) 20,979 21,982 42,960
  ประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 4,633 5,718 10,351
  ประชากรสูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) 3,025 3,887 6,912
  ประชากรก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) 2,282 2,180 4,462
  ประชากรวัยเรียน (6-21 ปี) 6,970 6,728 13,698
  สตรีวัยเจริญพันธุ์ (15-49 ปี)   17,123  
5. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าบุคคลที่เกิดมาแล้วจะมีชีวิตต่อไปอีกกี่ปี) 71.6 78.4  
6. อายุคาดเฉลี่ยที่อายุ 60 ปี (จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าผู้ที่อายุ 60 ปีจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกกี่ปี) 20.1 23.3  
7. อายุคาดเฉลี่ยที่อายุ 65 ปี (จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าผู้ที่อายุ 65 ปีจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกกี่ปี) 16.4 19.2  
8. อัตราชีพ      
  อัตราเกิด (ต่อประชากรพันคน)     12.0
  อัตราตาย (ต่อประชากรพันคน)     8.0
  อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ (ร้อยละ)     4.0
  อัตราตายทารก (ต่อการเกิดมีชีพพันราย)     10.6
  อัตราตายเด็กต่ำกว่า 5 ปี (ต่อการเกิดมีชีพพันราย)     17.5
9. อัตราเจริญพันธุ์รวม (จำนวนบุตรโดยเฉลี่ยที่สตรีคนหนึ่งจะมีตลอดวัยเจริญพันธุ์ของตน)     1.6
10. อัตราคุมกำเนิด (ร้อยละ)     79.3
11. ประมาณการประชากรข้ามชาติ 3 สัญชาติ (หน่วยเป็นพัน)     4,551
  เมียนมาร์     3,599
  กัมพูชา     587
  ลาว     365

คำอธิบายข้อมูล

  • ประชากรในรายการ 1-4 : ประชากรสัญชาติไทย และประชากรที่ไม่ใช่สัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • อัตราเกิด (ต่อประชากรพันคน) : จำนวนเกิดทั้งหมดในปีหนึ่ง หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปีนั้น คูณด้วย 1,000
  • อัตราตาย (ต่อประชากรพันคน) : จำนวนตายทั้งหมดในปีหนึ่ง หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปีนั้น คูณด้วย 1,000
  • อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ (ร้อยละ) : จำนวนเกิดลบด้วยจำนวนตาย หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปี คูณด้วย 100
  • อัตราตายทารก (ต่อเด็กเกิดมีชีพพันราย) : จำนวนทารกตายเมื่ออายุต่ำกว่า 1 ปีในปีหนึ่ง หารด้วย จำนวนการเกิดมีชีพทั้งหมดในปีนั้น คูณด้วย 1,000
  • อัตราตายเด็กต่ำกว่า 5 ปี (ต่อเด็กเกิดมีชีพพันราย) : จำนวนเด็กตายเมื่ออายุต่ำกว่า 5 ปีในปีหนึ่ง หารด้วยจำนวนการเกิดมีชีพทั้งหมดในปีนั้น คูณด้วย 1,000
  • อัตราเจริญพันธุ์รวม : จำนวนบุตรโดยเฉลี่ยที่สตรีคนหนึ่งจะมีตลอดวัยเจริญพันธุ์ของตน คำนวณได้จากการรวมอัตราเกิดรายอายุของสตรีตลอดวัยเจริญพันธุ์
  • อัตราคุมกำเนิด : ร้อยละของสตรีอายุ 15 – 49 ปี ที่แต่งงานแล้วและยังอยู่กินกับสามีที่กำลังใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่
  • ประชากรข้ามชาติ 3 สัญชาติ : ประชากรข้ามชาติสัญชาติเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว ทุกกลุ่มอายุ