ประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2564 รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม WebEx

สมาคมนักประชากรไทยร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2564 รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม WebEx โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ ในฐานะนายกสมาคมนักประชากรไทย กล่าวเปิดการประชุม และ ศ.นพ.เกียรติ รักรุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายกสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2562 – 2564) กล่าวปาฐกถา มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ในหัวข้อ "การปรับตัวทางประชากร หลังโควิด-19" นอกจากนี้ พบกับเสวนาวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สำนักคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย) ศ.เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์  ประสาทกุล (ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล) และ รศ.ดร.ดุษฎี อายุวัฒน์ (ผู้อำนวยการศูนย์บริการแรงงานและการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ในหัวข้อ "เมื่อโรคเปลี่ยนโลก: โควิด-19 กับภาวะการเกิด ตาย ย้ายถิ่น" ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ สมาคมนักประชากรไทยกำหนดจัดประชุมสามัญประจำปีของสมาคม และพิธีมอบรางวัลผู้นำเสนอผลงานดีเด่น การประชุมครั้งนี้ มีนักวิจัยรุ่นใหม่เข้าร่วมนำเสนอบทความ จำนวนทั้งสิ้น 22 บทความ และมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 120 ท่าน รายละเอียดดังนี้
 
“ประชากรสูงวัยและนโยบายประชากร” 
 
1. การจัดวางกลไกของรัฐในหลักสูตรวิชาหน้าที่พลเมือง: กรณีศึกษาเครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา / ณัฐนิช ฉ่ำเฉื่อย
2. มุมมองเชิงนโยบายต่อมาตรการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex) เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ / ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น | ได้รับรางวัลผู้นำเสนอผลงานดีเด่น
3. พฤฒิพลังและความแตกต่างด้านการจ้างงานในผู้สูงอายุชายและหญิง / อุษา อติโภคบูรณ์
4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีความพิการทางกายและการเคลื่อนไหวจังหวัดนครสวรรค์ / อธิชา โตจีน
 
“เด็กและสตรีกับประเด็นทางประชากร” 
 
1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจหยุดการใช้เพร็พเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงข้ามเพศในกรุงเทพฯ / ลินรดา หิมมะ | ได้รับรางวัลผู้นำเสนอผลงานดีเด่น
2. ทำไมหนูไม่ไปโรงเรียน: เรื่องเล่าในพื้นที่ชายแดนใต้ของแรงงานข้ามชาติ / เอเชีย ยีหลี
3. การจัดการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดอุบลราชธานีตามมาตรฐานสถานพัฒนาปฐมวัยแห่งชาติ/ วัฒนชัย ขวาลำธาร และ เกวลิน งามพิริยกร
 
“ประชากรกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี” 
 
1. การให้คำอธิบายความรุนแรงในโลกออนไลน์: กรณีศึกษานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / สุภาพร กมลฉ่ำ  
2. การวางแผนจัดการข้อมูลดิจิทัลส่วนบุคคลในเครือข่ายสังคมออนไลน์หลังจากเสียชีวิตของชาวดิจิทัลไทย / ฐิตินันทน์ ผิวนิล | ได้รับรางวัลผู้นำเสนอผลงานดีเด่น
3. ดนตรีบำบัดออนไลน์ โครงการดนตรีเพิ่มสุข บำบัดทุกข์ สู้ภัยวิกฤต / กฤษดา หุ่นเจริญ และ วิพุธ เคหะสุวรรณ
 
“คุณภาพชีวิตประชากร” 
 
1. คุณภาพชีวิตของชาวมันนิกับบัตรประชาชนและสิทธิสวัสดิการ / ภัทราพันธ์ อุดมศรี
2. การปรับเปลี่ยนและการยึดโยงเครือข่ายอำนาจของชาวมันนิภายใต้การเปลี่ยนแปลง / กฤษฎา ฤกษ์บุบผา
3. ชาติพันธุ์วรรณาว่าด้วยโรคติดเชื้อจากยุงลายบ้านในชุมชนประมงมุสลิม / ศุภานัน สุวรรณสาม | ได้รับรางวัลผู้นำเสนอผลงานดีเด่น
4. การจัดการความรู้ของสวนเกษตรอินทรีย์ขนาดเล็กเพื่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน / อรนุช เนาวเกตุ
 
“ครอบครัวกับการทำงาน” 
 
1. โพธิจิต: กระบวนการปลูกฝังคุณธรรมของครอบครัวในสังคมเมือง / อรศิริ ไม้ทอง
2. โครงสร้างของครัวเรือนที่มีผลต่อปฏิบัติการทางสังคมของผู้หญิงที่สามีย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ / สุวิมล คำน้อย
3.  แบบแผนการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศกับการเปลี่ยนผ่านของสังคมอีสานสมัยใหม่ / ณัฐวรรธ อุไรอำไพ | ได้รับรางวัลผู้นำเสนอผลงานดีเด่น
4.  แบบแผนการทำงานของประชากรแฝงในจังหวัดขอนแก่น / มนตรี ภูศรีโสม
 
“ระเบียบวิธีวิจัย และแรงงานกับการย้ายถิ่น” 
 
1. การวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อการจัดสรรทรัพยากรของโรงเรียนขนาดเล็กในประเทศไทย / ภาวิณี  เกิดผล
2. ผลกระทบของความเปราะบางต่อการเป็นหนี้ในระบบและนอกระบบของครัวเรือนเกษตรกรไทย / สุดารัตน์ อูปสาแก้ว
3. การวิเคราะห์สถิติเชิงพื้นที่ของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ และข้อมูลเศรษฐกิจสังคม / วิรินดา สิริสุวรรณ์
4. ความสัมพันธ์ทางสังคมในกลุ่มทายาทรุ่นที่ 2 ของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในจังหวัดสมุทรสาคร / เบญจพร โคกแปะ | ได้รับรางวัลผู้นำเสนอผลงานดีเด่น