แรงงานข้ามชาติ ตกหล่น บนเส้นทาง (วิกฤต) สุขภาพ 2 ปีที่พ้นผ่าน ยังไม่สายสำหรับการเยียวยา

ข่าว “แรงงานข้ามชาติ ตกหล่น บนเส้นทาง (วิกฤต) สุขภาพ 2 ปีที่พ้นผ่าน ‘ยังไม่สายสำหรับการเยียวยา’” เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย จัดสัมมนา ‘แนวทางในการจัดบริการด้านสุขภาพ การเข้าถึงหลักประกันทางสุขภาพ และแนวทางในการช่วยเหลือเยียวยาสำหรับกลุ่มประชากรข้ามชาติ : บทเรียนจากช่วงวิกฤติสุขภาพในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19’ ที่โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ ภายใต้การสนับสนุนจากกลุ่มสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการอียูรับมือโควิด

โดย รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอข้อเสนอจากงานวิจัย “เด็กข้ามชาติในสภาวะวิกฤติสุขภาพ: สถานการณ์และทางออก” ว่า ข้อมูลสถิติเด็กข้ามชาติที่มีนั้นตัวเลขจำนวนไม่ชัดเจน แต่มีพลวัตการอยู่อาศัยของเด็กในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างมาก ปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง คือ 1. การเข้าไม่ถึงทั้งเรื่องการจดทะเบียนเกิด การศึกษา และบริการสุขภาพที่จำเป็น 2. การตกหล่นทั้งเรื่องสุขภาพ การศึกษาและการคุ้มครอง 3. เด็กข้ามชาติจะมีความเสี่ยงและเปราะบางเพิ่ม

ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์มติชน เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565

https://www.posttoday.com/politic/columnist/685917