Abstract
การบริโภคโซเดียมเป็นปริมาณสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อทั่วโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการบริโภคโซเดียมสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยมีน้ำปลาเป็นแหล่งโซเดียมที่สำคัญของคนไทย งานวิจัยชิ้นนี้จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงปัจจัยสภาพแวดล้อมในระดับย่อยจะต่อพฤติกรรมการบริโภคน้ำปลา โดยได้ทดสอบ 4 สถานการณ์ (บวกหนึ่งสถานการณ์ควบคุม) ในโรงอาหาร 5 แห่งของมหาวิทยาลัย การออกแบบการศึกษาเป็น Latin square โดยมีการสุ่มโรงอาหารในระยะเวลา 5 สัปดาห์ที่ทำการทดลอง การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการทดสอบใช้แนวคิด Nudge ที่มุ่งเน้น 3 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรม ความรู้ความเข้าใจ และอารมณ์ความรู้สึก เพื่อลดการเติมน้ำปลาในก๋วยเตี๋ยว ผลการวิจัยพบว่า การปรับเปลี่ยนภาชนะที่ใช้ใส่น้ำปลาเพียงอย่างเดียว คือ จากน้ำปลาในขวดเป็นน้ำปลาในถ้วยพร้อมช้อนตัก สามารถลดการเติมน้ำปลาได้ 0.25 กรัมต่อชาม และเมื่อใช้ช้อนปรุงลด (สสส.) ที่ช่วยส่งเสริมการกะปริมาณการเติมที่เหมาะสม พบว่าสามารถลดการเติมน้ำปลาได้ถึง 0.58 กรัมต่อชาม ส่วนอีก 2 สถานการณ์ที่ได้ทดสอบ แม้พบการลดลงของการใช้น้ำปลา แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลของการศึกษานี้ สามารถนำไปเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนภาชนะการใช้น้ำปลา จากขวดเป็นถ้วย พร้อมช้อนขนาดเล็ก เพื่อลดการบริโภคโซเดียมในคนไทย
October 21, 2020