กระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดการเผาอ้อยและเศษวัสดุในไร่อ้อย ในจังหวัดกาญจนบุรี

Seminar no. 1286
18 September 2024 Time 14:00 – 15:00 hrs.
ณ ห้องประชุม 109 สระบัว และ ZOOM

Speaker: สรัญญา สุจริตพงศ์ และกัญญาพัชร สุทธิเกษม, บุคลากรสายวิชาการ (IPSR)

โครงการ การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดการเผาอ้อย และเศษวัสดุในไร่อ้อย ในจังหวัดกาญจนบุรี โครงการ การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดการเผาอ้อยและเศษวัสดุในไร่อ้อย ในจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ให้ดำเนินการศึกษาวิจัย ตั้งแต่ พฤษภาคม 2566 – ตุลาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสาเหตุปัจจัยปัญหาของการเผาเศษวัสดุการเกษตร ความเชื่อมโยงของสาเหตุปัญหา และประสิทธิผลของมาตรการปัจจุบัน โดยเฉพาะความแตกต่างของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยและรายใหญ่ ใน จ.กาญจนบุรี เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างมาตรการปัจจุบันในการลดการเผาเศษวัสดุในห่วงโซ่การผลิตอ้อยใน จ.กาญจนบุรี และเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะมาตรการทางเลือกสำหรับเกษตรกรรายย่อย ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งภาครัฐ เกษตรกร และเอกชน ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัด สมาคมชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาล เป็นต้น และใช้วิธี “วิเคราะห์เฉพาะเรื่อง” (Thematic analysis) เพื่อสกัด theme จากข้อมูลการสัมภาษณ์ ในการตอบวัตถุประสงค์การวิจัย โดยผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าวงรอบเหตุและผล (causal loop diagram) ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การเผาอ้อยในจังหวัดกาญจนบุรี ลดลงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดียังคงมีการเผาในฤดูเก็บเกี่ยวและช่วงเตรียมแปลงปลูกอยู่มาก เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดต้นทุนส่งผลให้สภาพอากาศในจังหวัดกาญจนบุรีในช่วงฤดูแล้งมีปัญหาฝุ่น PM2.5 ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลตรงกันว่า การเผาในจังหวัดกาญจนบุรีส่วนใหญ่เกิดจากไฟป่า การลักลอบเผาป่า และเผานาข้าว ในขณะที่การอ้อยน้อยลงมากเนื่องจากมาตรการของภาครัฐ แต่ยังมีการลักลอบเผาในบางกลุ่มเนื่องจากหลายปัจจัย สาเหตุปัจจัยของการเผาช่วงเก็บเกี่ยวประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่ การใช้รถตัดอ้อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับต้นทุนของเกษตรกร การรวมกลุ่มเกษตรกร ขนาดและรูปร่างของแปลงปลูก ความรู้ในการใช้รถตัดและการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี เป็นต้น ต้นทุนการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะ การบริหารเวลาในการเก็บเกี่ยว และราคาอ้อย ข้อเสนอแนะต่อมาตรการลดการเผา ประกอบด้วย มาตรการสนับสนุนรถตัดอ้อย การใช้เทคโนโลยี/เครื่องจักรสางใบ การใช้ประโยชน์จากใบอ้อยหรือเศษวัสดุที่เหลือหลังการเก็บเกี่ยว มาตรการทางเศรษฐกิจ เช่น การสนับสนุนผู้ที่ตัดอ้อยสด และการลงโทษผู้ที่เผาอ้อย การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเวลาเก็บเกี่ยว และราคาน้ำตาลในตลาด

Join Zoom Meeting
https://zoom.us/j/95735427051?pwd=WVdCY2ZiL0ZYYlhzMVlDak9aNDVEdz09

Meeting ID: 957 3542 7051
Passcode: 022343