การพัฒนาเครื่องมือในการวัดผลกระทบของการตลาดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของเด็กไทย

Seminar no. 1260
24 April Time 12.30 – 13.30 hrs.

Speaker: อ.ดร.นงนุช จินดารัตนาภรณ์

การพัฒนาเครื่องมือวัดผลกระทบของการตลาดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่มีต่อเด็กไทย มีความสำคัญเพราะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปสนับสนุนการออกกฎหมายควบคุมการตลาดอาหารฯ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของแบบสอบถามผลกระทบของการตลาดอาหารฯ ที่มีต่อเด็กไทย วิธีการศึกษา: ในการออกแบบแบบสอบถาม ขั้นตอนแรก คือ การกำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับผลกระทบของการตลาดอาหารฯ ต่อความภักดีต่อแบรนด์อาหาร ความชอบ การซื้อ และการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของเด็กไทย ขั้นตอนที่ 2 คือ การทบทวนวรรณกรรมเพื่อรวบรวมและคัดเลือกคำถามที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณภาพของเครื่องมือ 3.1 ประเมินความเที่ยงตรงเนื้อเชิงหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ใช้ดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา(content validity index or CVI) และสถิติแคปปา (Kappa statistics) ในการวิเคราะห์ข้อมูล 3.2 ประเมินความเที่ยงตรงเชิงปรากฎ (face validity) และความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถาม ประเมินโดยนักเรียน 32 คน ประเมินความเที่ยงตรงเชิงปรากฏโดยใช้การสนทนากลุ่ม และประเมินความน่าเชื่อถือโดยใช้ค่าอัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (intraclass correlation coefficients1 or ICC) ผลการศึกษา: คำถามในแบบสอบถามทั้งหมด 15 ข้อ มี CVI และสถิติแคปปาของคำถามแต่ละข้อเท่ากับ 1.0 ซึ่งบ่งชี้ว่า แต่ละคำถามมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงตรงเชิงปรากฏพบว่า คำถามส่วนใหญ่เข้าใจง่ายไม่กำกวมหรือคลุมเครือ ซึ่งบ่งบอกถึงความเที่ยงตรงเชิงปรากฎ ค่าอัลฟ่า มีค่าเท่ากับ 0.75 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นได้ และค่า ICC เท่ากับ 0.75 (95% CI: 0.567-0.863) หมายถึงมีความสอดคล้องภายในของคำถามทั้งหมด

Join Zoom Meeting
https://zoom.us/j/95735427051?pwd=WVdCY2ZiL0ZYYlhzMVlDak9aNDVEdz09

Meeting ID: 957 3542 7051
Passcode: 022343

Facebook Live: https://www.facebook.com/IPSRMahidolUniversity