รัฐบาลเมียนมากับประเด็นแรงงานย้ายถิ่นระหว่างประเทศในยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมือง (2011-2020)

Abstract

เมื่อเมียนมาเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมืองภายใต้การปกครองของรัฐบาลระบอบผสม (hybrid regime)อย่างรัฐบาลเต็งเส่ง และ รัฐบาลอองซานซูจี กรอบนโยบายของรัฐบาลเมียนมาต่อประเด็นแรงงานย้ายถิ่นระหว่างประเทศมีความเปลี่ยนแปลงไปสู่บรรทัดฐานของประเทศผู้ส่งแรงงาน (migrant-sending state) มากขึ้น และมีกรอบนโยบายที่ชัดเจนกว่าในยุคของระบอบเผด็จการทหาร มีการสมาทานบรรทัดฐานระหว่างประเทศบางประการ โดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้ กรอบนโยบายอยู่บนพื้นฐานของสองปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) นโยบายต่างประเทศที่เปิดสู่ชุมชนระหว่างประเทศมากขึ้น ทำให้เกิดความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ 2) ความสัมพันธ์ที่ปราศจากข้อขัดแย้งกับประเทศผู้รับแรงงานหลักที่สำคัญที่สุด คือประเทศไทย อย่างไรก็ดีพัฒนาการของกรอบนโยบายเรื่องแรงงานย้ายถิ่นก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และยังคงมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ รวมถึงรัฐบาลเมียนมาไม่ได้มีเจตนาที่จะพึ่งพาการพัฒนาทางเศรษฐกิจผ่านการส่งออกแรงงานเป็นหลักแบบประเทศผู้ส่งออกแรงงานบางประเทศแต่อย่างใด สุดท้าย เมื่อประเทศเมียนมาเกิดสถานการณ์รัฐประหารเช่นนี้ จะส่งผลอย่างไรต่อแรงงานย้ายถิ่นระหว่างประเทศ

ผู้ดำเนินรายการ: อาจารย์ ดร.ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ

 
Facebook Live: IPSRMAHIDOLUNIVERSITY

March 3, 2021