ภาวะมีบุตรยากปฐมภูมิและทุติยภูมิในประเทศไทย: ระดับแนวโน้ม ปัจจัย และผลกระทบ

ภาวะมีบุตรยากปฐมภูมิและทุติยภูมิในประเทศไทย: ระดับแนวโน้ม ปัจจัย และผลกระทบ

Abstract

คู่รักหรือคู่สมรสที่ไม่สามารถมีบุตรได้ ถือว่าเป็นเรื่องน่าเศร้า พวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างคู่รักเกิดความตึงเครียดเมื่อไม่มีลูก เนื่องจากคู่รักฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเกิดการตำหนิติเตียนอีกฝ่ายหนึ่งว่ามีความบกพร่องในการมีบุตรเกิดความกดดันกับความคาดหวังของตนเองและสังคมโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ในประเทศที่พัฒนาแล้วอัตราการมีบุตรยากอยู่ระหว่างร้อยละ7-17 เช่น นอร์เวย์ร้อยละ 7 อเมริการ้อยละ 8.5 ฟินแลนด์ร้อยละ 15 และอังกฤษร้อยละ 17 สำหรับประเทศไทยปัญหาการมีบุตรยากของสตรีวัยเจริญพันธุ์อายุระหว่าง 15-49 ปี พบร้อยละ 15 (จารุวรรณ ก้าวหน้าไกล, 2556) อุบัติการณ์ของภาวะมีบุตรยากมีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อด้านประชากรและสุขภาพ ภาวะมีบุตรยากสูงมีผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์โดยรวมและอัตราการเติบโตของประชากรในประเทศนั้นๆ
 
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methods) มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาระดับแนวโน้ม ปัจจัย และผลกระทบของการมีบุตรยากแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ของประเทศไทย ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS) ประชากรตัวอย่าง คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15-49 ปี โดยการศึกษาครั้งนี้เลือกเฉพาะสตรีที่สมรสอายุระหว่าง 20-44 ปี
 
Moderator: นายดนุสรณ์  โพธารินทร์

February 26, 2020 Time: 12:30-13:30 hrs. at 109 Sabua Room, 1st Floor