Abstract
การระบาดของโรคโควิด 19 ในยุคปัจจุบันส่งผลกระทบต่อประชากรกลุ่มต่างๆ ทั่วโลก โดยการแพร่กระจายของโรคดังกล่าวไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงจนกว่าจะมีการค้นพบวัคซีนเพื่อรักษาโรค ท่ามกลางสภาวการณ์เช่นนี้นักวิชาการจำนวนมากมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางอยู่แต่เดิม มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบอย่างหนักหากสมาชิกในครอบครัวหรือชุมชนได้รับเชื้อ เนื่องจากผู้ลี้ภัยมักจะอาศัยรวมกันในพื้นที่จำกัดภายในประเทศที่ตนเองพักพิงเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ ปัญหาหลักของผู้ลี้ภัย คือ ข้อจำกัดในการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากผ้า หรือ หน้ากากป้องกันประเภทอื่นๆ ด้วยขาดกำลังทรัพย์หรือขาดการเข้าถึงการช่วยเหลือ นอกจากนี้ การรักษาพยาบาลในกรณีติดเชื้อก็เป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ที่ผู้ลี้ภัยเข้าไปพักพิงชั่วคราวมักให้ความสำคัญกับพลเมืองของตนเองก่อนเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ เมื่อมองในมิติสุขภาพ วิถีชีวิตของผู้ลี้ภัยท่ามกลางท่ามกลางวิกฤตโควิด 19 จึงเต็มไปด้วยความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ซึ่งยังไม่นับรวมความท้าทายเรื่องปากท้องและโอกาสในการย้ายไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม
Moderator: อ.นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
********************************
Short biography
อาจารย์ ดร.ภาณุภัทร จิตเที่ยง ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ภาณุภัทรเป็นนักสังคมวิทยาด้านผู้ลี้ภัยศึกษาและการพัฒนาระหว่างประเทศ อาจารย์ภาณุภัทรได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ณ วิทยาลัยการต่างประเทศเอลเลียตต์ มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาเอก ด้านสังคมวิทยา ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะนี้ อาจารย์กำลังทำงานวิจัยในสองหัวข้อ หัวข้อแรกว่าด้วยบทบาทของประเทศไทยในฐานะประเทศทางผ่านของผู้ลี้ภัย และอีกหัวข้อว่าด้วย ความสำคัญของเมืองต่อวิถีชีวิตของผู้ลี้ภัยในเขตเมือง ตามลำดับ
*********************************
Join this Seminar via Cisco Webex
Meeting number:
911 628 138
Password:
kJTE8Jmka95
********************************
ข้อความจากคณะทำงานเสวนาใต้ชายคา
โดยตลอดเดือนพฤษภาคม 2563 นี้ เราได้รับเกียรติจากวิทยากรถึง 4 ท่าน ทั้งจากภายในและภายนอกสถาบันฯ โดยทั้ง 4 ท่าน จะมาชวนสนทนาและพูดคุยให้พวกเราฟังถึงประเด็นที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 จากหลากหลายมุมมอง ดังนั้น เสวนาใต้ชายคาฯ จึงขอตั้งวาระให้เข้ากับสถานการณ์ว่า COVID-19 Series
โดยก่อนที่สถานการณ์ทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เราจะจัดเสวนาใต้ชายคาฯ ผ่านช่องทาง Online ด้วยโปรแกรม Cisco Webex ที่พวกเราน่าจะเริ่มคุ้นเคยกับวิธีการใช้มากขึ้นทุกวัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกท่านสามารถเข้าถึงและเข้าร่วมการเสวนาฯ ได้มากยิ่งขึ้น
********************************
May 20, 2020 Time 12.30-13.30 hrs.