Abstract
การมีกิจกรรมทางกายเป็นวิธีการส่งเสริมและดูแลสุขภาพที่สำคัญ มีงานวิจัยมากมายชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่ไม่เพียงแต่จะดีต่อสุขภาพและช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย การมีกิจกรรมทางกายยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้อีกด้วย ปัจจุบันคำแนะนำด้านการมีกิจกรรมทางกายของหลายประเทศได้ปรับข้อแนะนำให้ครอบคลุมพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ทุกคนต้องมีเป็นประจำใน 1 วัน ได้แก่ กิจกรรมทางกาย พฤติกรรมเนือยนิ่ง (หรือการนั่งเป็นเวลานาน) และการนอนหลับ ประเทศไทยนับเป็นประเทศแรกๆ ที่ได้พัฒนาไกด์ไลน์ที่รวมทั้ง 3 พฤติกรรมเข้าด้วยกัน ข้อแนะนำการส่งเสริมพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายฉบับนี้ มีกระบวนการพัฒนา 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การทบทวนวรรณกรรมจากต่างประเทศที่มีการจัดทำข้อแนะนำมาก่อน และใช้การหารือร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาให้สอดคล้องกับบริบทประชากรไทยมากที่สุด ข้อแนะนำฯ ของไทยยังได้พัฒนาให้เหมาะสมครอบคลุมทุกกลุ่มวัย แบ่งเป็น 5 กลุ่มประชากร ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) วัยเด็กและวัยรุ่น (6-17 ปี) วัยผู้ใหญ่ (18-59 ปี) และวัยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) Abstract Physical activity is one of the best buys of public health promotion. Strong evidence suggests positive impacts of adequate physical activity on health and reduced risks of non-communicable diseases. Currently, several countries have updated their guidelines on physical activity to include other movement behaviors that people perform in a day. These include physical activity, sedentary behavior, and sleep. Thailand also released the new movement guidelines integrating recommendations for these three behaviors. Thailand’s guidelines on physical activity, sedentary behaviour, and sleep were developed through literature reviews and consultations of experts. Thailand’s guidelines were specifically adapted for five different groups; i) pregnant and postpartum women; ii) early years (birth to 5 years); iii) school-aged children and adolescents (6 – 17 years); iv) adults (18 – 59 years); and v) older adults (60 years and older).
Please join via Zoom
July 15, 2020