การศึกษาความตระหนักด้านจริยธรรมของนักวิจัย สาขาสังคมศาสตร์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมอบรมจริยธรรมวิจัย

การศึกษาความตระหนักด้านจริยธรรมของนักวิจัย สาขาสังคมศาสตร์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมอบรมจริยธรรมวิจัย

บทคัดย่อ

การศึกษาความตระหนักและการรับรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยของนักวิจัย เป็นบันไดพื้นฐานที่จะช่วยส่งเสริมให้นักวิจัยดำเนินงานวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ และไม่ขัดกับหลักจริยธรรมการวิจัย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักและการรับรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยของนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมอบรมจริยธรรมวิจัย  โดยวิธีการศึกษาประยุกต์ ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์  119 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการสัมภาษณ์เชิงลึก นักวิจัย และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่านักวิจัยสาขาสังคมศาสตร์มีความตระหนักในประเด็นการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย และประเด็นความซื่อสัตย์สูงมาก โดยมองว่าการคัดลอกผลงานวิจัย และการปลอมแปลงข้อมูลการวิจัยเป็นสิ่งที่ผิดจริยธรรมยิ่ง การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลเป็นความรับผิดชอบสำคัญ ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ Binary logistic Regression ชี้ให้เห็นว่า“ทัศนคติของนักวิจัย” เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการเข้าร่วมอบรม หากนักวิจัยเห็นว่าการอบรมมีความสำคัญ ก็จะเพิ่มความน่าจะเป็นในการเข้าร่วมอบรมได้มากถึง 29.6 เท่า
 
ผู้ดำเนินรายการ:  ว่าที่ร้อยตรี นิพนธ์  ดาราวุฒิมาประกรณ์

January 3, 2018 Time: 12:30 – 13:30 hrs. Room Srabua (109)