การวิจัยเชิงคุณภาพแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล

การวิจัยเชิงคุณภาพแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (Grounded Theory Research – GTR) พัฒนาขึ้นในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1960 โดยนักสังคมวิทยา Barney Glaser กับ Anselm Strauss ซึ่งขณะนั้นประจำอยู่ที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก หนังสือสำคัญซึ่งเป็นหมุดหมายของการเกิดแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพแบบนี้ คือ The Discovery of Grounded Theory : Strategies for Qualitative Research (Glaser and Strauss, 1967) นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า การเกิขึ้นของ GTR เป็นการปฏิวัติทางระเบียบวิธีของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพราะได้เสนอระเบียบวิธีในการดำเนินการวิจัยที่มีรายละเอียดและเป็นระบบ ทั้งในกระบวนการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์
 
นับแต่เริ่มต้นมาจนถึงปัจจุบัน การทำ GTR มีการพัฒนาไปมาก ทำให้มีแนวทางในการทำวิจัยหลายแบบเกิดขึ้น แต่ที่สำคัญคือ (1) แบบคลาสสิค (2) แบบสเตราสส์-คอร์บิน และ(3) แบบสรรค์สร้าง แม้ว่า GTR แต่ละแบบจะมีจุดเน้นเฉพาะของตน แต่โดยรวมแล้ว กระบวนการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลของแนวทางการวิจัยแบบนี้ก็คล้ายกัน นั่นคือ ประกอบด้วย (1) การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมกัน (2) การสุ่มตัวอย่างเชิงทฤษฎี (3) การให้รหัสข้อมูล (4) การเปรียบเทียบ และ (5) การเขียนบันทึกเชิงวิเคราะห์
 
ตั้งแต่ราว ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา GTR ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ  ประมาณ ค.ศ. 2010 นักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัย Huddersfield ในอังกฤษ ได้ทำการสำรวจนักวิจัยที่ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ ผู้ตอบคำถามมีทั้งนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยอาชีพ การสำรวจนี้พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบคำถาม บอกว่า ตนใช้ GTR เป็นวิธีการวิจัย นี่แสดงให้เห็นว่า GTR ได้รับความนิยมมาก
 
ในการสัมมนานี้ ผมหวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนกับทุกท่านที่สนใจเกี่ยวกับ GTR
หมายเหตุ : ในโอกาสนี้ จะมี soft drink และ refreshment บริการสำหรับทุกท่านที่เข้าร่วมในการสัมมนาด้วย
 
Moderator: ผศ.ดร.ธีรนงค์  สกุลศรี

March 27, 2019 Time: 12:30-13:00 hrs. Room: 326 Rajavadee, 3rd Floor