โครงการผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อแรงงานไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ย้ายถิ่นกลับมาตุภูมิ: ความเปราะบางและการฟื้นตัวในมิติเศรษฐกิจของครัวเรือน

โครงการผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อแรงงานไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ย้ายถิ่นกลับมาตุภูมิ: ความเปราะบางและการฟื้นตัวในมิติเศรษฐกิจของครัวเรือน

หัวหน้าโครงการ: สุชาดา ทวีสิทธิ์
นักวิจัย: อารี จำปากลาย , อัลญาณ์ สมุห์เสนึโต

ระยะเวลาดำเนินการ: พฤศจิกายน 2564 – ตุลาคม 2565

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาความเปราะบางด้านเศรษฐกิจของครัวเรือน โดยมีตัวชี้วัด คือ หนี้สินเพิ่มขึ้น รายได้ลดลง รายได้ไม่แน่นอน ไม่มีโอกาสในการหารายได้เพิ่ม ไม่มีเงินออม ไม่มีทรัพย์สินที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ไม่มีความมั่นคง ด้านอาหาร ด้านสุขภาพ และการศึกษาของเด็กและเยาวชน (ต้องชื้อ อาหารปริมาณน้อยลง และคุณภาพอาหารด้อยลง ต้องยืมเงินค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย รวมทั้งค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน)
  2. เพื่อศึกษาระดับการฟื้นตัวของครัวเรือนจากภาวะวิกฤติด้านเศรษฐกิจ โดยมีตัวชี้วัด คือ มีเงินออมและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น มีแหล่งรายได้มากกว่าหนึ่งแหล่ง มีความมั่นคงด้านอาหาร ด้านสุขภาพ และการศึกษาของเด็กและเยาวชน (มีเงินเพียงพอจ่ายค่าอาหารทั้ง ปริมาณและคุณภาพ มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าการศึกษาของบุตรหลานโดยไม่ต้องไปกู้ยืม)
  3. เพื่อศึกษาวิธีรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจของครัวเรือนและของตัวแรงงานที่ย้ายถิ่นกลับจากประเทศมาเลเซียเมื่อมีการระบาดของโควิด-19 โดยมีตัวชี้วัด ได้แก่ แรงงานที่กลับบ้านหางานและได้งานทำใหม่ในประเทศหรือในท้องถิ่น ครัวเรือนสามารถสร้างรายได้ทดแทนจากการเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกอบการ สามารถรื้อฟื้นอาชีพ เดิมของครัวเรือนเพื่อเพิ่ม รายได้ ครัวเรือนเข้า ร่วมโครงการพัฒนาอาชีพท่ีหน่วยงานในพื้นที่ให้การสนับสนุน เช่น ปลูกพืชระยะสั้น ปลูกไผ่เศรษฐกิจ เลี้ยงปูทะเล เป็นต้น
  4. เพื่อศึกษาปัจจัย/เงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์และที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว/อยู่รอดจากปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือนและของแรงงานซึ่งย้ายถิ่นกลับจากประเทศมาเลเซียช่วงการการระบาดของโควิด-19 โดยมีตัวชี้วัด ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่พึ่งพิงครัวเรือนด้านเศรษฐกิจ จำนวนสมาชิกซึ่งมีอาชีพที่มีรายได้เป็นตัวเงิน จำนวนที่ทำกินของตนเอง การมีเงินออมและทรัพย์สิน การเข้าถึงสินเชื่อของเอกชน การอ่านเขียนพูดภาษาไทยได้ การเข้าถึงโครงการช่วยเหลือของภาครัฐ เช่น สวัสดิการทุนการศึกษาสมาชิกในครอบครัว เงินกู้เพื่อประกอบอาชีพ เงินช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ การฝึกอาชีพให้ การหางานให้ทำ เป็นต้น
  5. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังของตัวแรงงานเองและครัวเรือนเกี่ยวกับการทำมาหากินหลังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย