โครงการการวิจัยเพื่อพัฒนาแนวทางการขยายผลต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน “โรงเรียนฉลาดเล่น (Active School)”

โครงการการวิจัยเพื่อพัฒนาแนวทางการขยายผลต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน “โรงเรียนฉลาดเล่น (Active School)”

ระยะเวลาดำเนินงาน: กันยายน 2561 – สิงหาคม 2562
สถานะ: กำลังดำเนินการ
หัวหน้าโครงการ: ปิยวัฒน์ เกตุวงศา


นักวิจัย: ปัญญา ชูเลิศ, ชุติมา  อยู่สมบูรณ์

วัตถุประสงค์:

  1. เพี่อพัฒนาแนวทางการขยายผลต้นแบบโรงเริยนฉลาดเล่นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนอันครอบคลุม ถึงกระบวนการ เครื่องมีอ และชุดความรู้ที่สามารถนำไปใช้เพี่อขยายผลเครือข่ายสถานศึกษาส่งเสริมกิจกรรมทางกายใดอย่างงมีประสิทธิผล
  2. เพี่อดำเนินกิจกรรมโรงเรียนฉลาดเล่น และวัดประสิทธิผลของต้นแบบโรงเรียนฉลาดเล่นในการช่วยส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของ นักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียน
  3. เพี่อจัดทำข้อแนะนำ (Guideline) และคู่มือมาตรฐาน "โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย" ที่สามารถประยุกต์ใช้โดยสถานศึกษาได้อย่างง่ายและมีประสิทธิภาพ


เกี่ยวกับงานวิจัย

“โรงเรียนฉลาดเล่น” (Active School) คือ โรงเรียนที่เด็กๆ จะได้มีความสุขกับการเรียนรู้ผ่านทางการเล่น การมีกิจกรรมทางกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาการเรียนวิชาต่างๆ ซึ่งภายในโรงเรียนฉลาดเล่นนี้ เด็กๆ จะมีพัฒนาการที่สมวัยอย่างรอบด้าน รู้สึกมีความสุขและความผูกพันกับการอยู่ที่โรงเรียน การได้เรียนกับคุณครูที่มีกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่ช่วยให้เด็กๆ ได้มีประสบการณ์ตรง กระตุ้นการเรียนรู้

กิจกรรมดังกล่าวนี้ เป็นการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และที่สำคัญคือ โรงเรียนต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ

 

กิจกรรมนี้ใช้แนวคิดในการจัดสรรเวลา (Time Allocation) และโอกาส (Opportunity) ให้นักเรียนได้มีการมีกิจกรรมทางกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในหลักสูตรในจังหวะเวลาที่สำคัญ นั่นคือ “ช่วงเวลาที่สมองของเด็กมีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างเต็มที่” โดยการที่จะให้เกิดช่วงเวลาดังกล่าวได้ เด็กจะได้ร่วมกิจกรรมการเล่นแบบ Active Play (ที่ผ่านการทดลองทางการวิจัย) เพื่อให้สมองมีความพร้อม และสมาธิสำหรับการเรียน จากนั้นบูรณาการเข้ากับกระบวนการเรียนที่ทาง สพฐ. ได้กำหนดไว้ในการสร้างความเข้าใจ รวมถึงให้เด็กนักเรียนได้พัฒนาทักษะด้านการฟังพูดอ่านเขียน การคิดวิเคราะห์ ซึ่งภายใต้กระบวนการดังกล่าวนี้ เด็กจะมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ รวมถึงได้เพิ่มพูนประสบการณ์ และพัฒนาทักษะต่างๆ ที่เหมาะสมตามช่วงวัย ตามคุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญคือ นักเรียนในโรงเรียนฉลาดเล่นจะมีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ตามสถานการณ์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่รัฐบาลกำลังมุ่งเน้นในปัจจุบัน

โดยในการออกแบบกิจกรรมนี้ ประสงค์ให้ “โรงเรียนฉลาดเล่น” (Active School) เป็นต้นแบบของโรงเรียนที่เด็กๆ จะได้มีความสุขกับการเรียนรู้ผ่านทางการเล่น การมีกิจกรรมทางกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาการเรียนวิชาต่างๆ ซึ่งภายในโรงเรียนฉลาดเล่นนี้ เด็กๆ จะมีพัฒนาการที่สมวัยอย่างรอบด้าน รู้สึกมีความสุขและความผูกพันกับการอยู่ที่โรงเรียน การได้เรียนกับคุณครูที่มีกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่ช่วยให้เด็กๆ ได้มีประสบการณ์ตรง กระตุ้นการเรียนรู้

 

เป้าหมายหลักของโครงการวิจัย

พัฒนาแนวทางการขยายผลต้นแบบการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนผ่านกระบวนการกิจกรรมร่วมกับโรงเรียน เพื่อให้เกิดรูปแบบของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนฉลาดเล่น (Active School) ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย สามารถนำไปใช้เพื่อการขยายผลของการดำเนินงานในระดับประเทศต่อไป

ผลการวิจัยเบื้องต้น

ปัจจุบันการดำเนินกิจกรรมโครงการเข้าสู่ระยะของการติดตามตรวจสอบประสิทธิผลระยะหลังดำเนินกิจกรรมที่เกิดขึ้นต่อพัฒนาการการเรียนรู้ทั้ง 5 มิติของนักเรียน โดยผลการติดตามการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมาได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนกว่า การส่งเสริมกิจกรรมทางกายภายใต้แนวคิดโรงเรียนฉลาดเล่นสามารถเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและพฤติกรรมการใช้หน้าจอของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงสร้างความสุขและความผูกพันของนักเรียนที่มีต่อโรงเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มนักเรียนกลุ่มควบคุม

นอกจากนี้ การดำเนินการในระยะที่ผ่านมาโครงการวิจัยได้พัฒนานวัตกรรมทั้งเชิงเครื่องมือการติดตามและประเมินผลนักเรียนทั้งในระดับโรงเรียน ห้องเรียน และรายบุคคลแบบออนไลน์ ตลอดจนเครื่องมือการวิเคราะห์พฤติกรรมของนักเรียนขึ้นมาเพื่อใช้ในกระบวนการวิจัยให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ที่สำคัญคือ นวัตกรรมเชิงกระบวนการในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนในชื่อ “4PC” ที่สามารถผลักดันสู่การใช้งานเชิงนโยบายระดับประเทศได้

คณะวิจัย

  1. ผศ.ดร. ปิยวัฒน์ เกตุวงศา                         หัวหน้าโครงการ
  2. นายปัญญา ชูเลิศ                                  ผู้จัดการโครงการ
  3. นายณรากร วงษ์สิงห์                              นักวิจัย
  4. นางสาวกรกนก พงษ์ประดิษฐ์                     นักวิจัยผู้ช่วย
  5. นางสาวขวัญลออ นวลละออง                     นักวิจัยผู้ช่วย
  6. นางสาวชุติมา อยู่สมบูรณ์                         นักวิจัยและเลขานุการโครงการ

ระยะเวลาการดำเนินการวิจัย

พ.ศ. 2560-2562

แหล่งทุน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา  email: piyawat.kat@mahidol.edu

นายปัญญา ชูเลิศ email: pchoolres@gmail.com

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แนวทางการขยายผลต้นแบบโรงเริยนฉลาดเล่นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนอันครอบคลุม ถึงกระบวนการ เครื่องมีอ และชุดความรู้ที่สามารถนำไปใช้เพี่อขยายผลเครือข่ายสถานศึกษาส่งเสริมกิจกรรมทางกายใดอย่างงมีประสิทธิผล
  2. ข้อแนะนำ (Guideline) และคู่มือมาตรฐาน "โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย" ที่สามารถประยุกต์ใช้โดยสถานศึกษาได้อย่างง่ายและมีประสิทธิภาพ

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดชุดความรู้ เครื่องมือ และคู่มือมาตรฐาน รวมถึงกลไกสำหรับการขยายผลโรงเรียนฉลาดเล่น
  2. นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งที่เหมาะสม
  3. การขยายผลของโรงเรียนต้นแบบไปยังพื้นที่ในวงกว้าง และสามารถก่อให้เกอดการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางกายในโรงเรียนได้