โครงการการพัฒนาสร้างเสริมความสุขคนทำงานเพื่อความยั่งยืน โดยการดำเนินงานในรูปแบบ “ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย”

โครงการการพัฒนาสร้างเสริมความสุขคนทำงานเพื่อความยั่งยืน โดยการดำเนินงานในรูปแบบ “ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย”

ระยะเวลาดำเนินงาน: พฤษภาคม 2558 – เมษายน 2561
สถานะ: กำลังดำเนินการ
หัวหน้าโครงการ: ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต


นักวิจัย: เฉลิมพล แจ่มจันทร์, เฉลิมพล  สายประเสริฐ, บุรเทพ โชคธนานุกูล, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, วรรณี หุตะแพทย์, ปรียา พลอยระย้า, จารุวรรณ จารุภูมิ, สุรีย์พร พันพึ่ง, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, จิตติ วิสัยพรม, สุรารัตน์ พวงจำปา, ธารินี เหมือนวงศ์ธรรม

วัตถุประสงค์:

  1. พัฒนาความยั่งยืนด้วยแนวคิดวิจัยเชิงธุรกิจ โดยการดำเนินงานในรูปแบบ “ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย”
  2. สร้างแหล่งสนับสนุนการพัฒนาสร้างเสริมความสุขคนทำงานสำหรับเครือข่ายองค์กรแห่งความสุข ที่เป็นภาคีของสำนักงานสนับสนุนสุขภาวะองค์กรสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  3. สร้างศูนย์กลางด้านการศึกษาวิจัย ความสุขคนทำงาน และองค์กรแห่งความสุข
  4. ผลิตองค์ความรู้ด้านคุณภาพชีวิตความสุข และองค์กรแห่งความสุข
  5. จัดทำ “ฐานข้อมูลความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย”
  6. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาสร้างเสริมความสุขคนทำงาน องค์กรความสุข และองค์กรสุขภาวะไปสู่กลุ่มเป้าหมาย และประชาชนทั่วไป ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ถ่ายทอดองค์ความรู้ การพัฒนาการบริหารจัดการความรู้สู่ความสุขในการทำงาน
  2. สร้างนักสร้างสุของค์กรที่มีศักยภาพและความเข้มแข็งในการวัดคุณภาพชีวิตและความสุข สร้างแผนและดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมความสุขของคนและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สร้างศูนย์กลางด้านการศึกษาวิจัยสุขภาพกาย จิตวิญญาณ สมาธิ ปัญญา สมดุลแห่งชีวิต ความผูกพันองค์กร ความสุข และองค์กรแห่งความสุขของคนทำงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

ผลผลิตของโครงการ

  1. รายงานผลการจัดประชุมเชิงวิชาการระดับชาติ วันความสุขสากล พร้อมข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมดังกล่าว
  2. บทความทางวิชาการอย่างน้อย 10 บทความ “คุณภาพชีวิตและความสุข” “ความสุขคนทำงาน” “องค์กรแห่งความสุข” “ผลลัพธ์เชิงธุรกิจ” และ “สมดุลแห่งชีวิตคนทำงาน”
  3. นักสร้างสุของค์กร จำนวน 20 คนต่อปี
  4. เครือข่ายองค์กรแห่งความสุขที่เป็นภาคี ของสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จำนวน 35 องค์กรต่อปี และจำนวนรายบุคคล 8,750 คนต่อปี
  5. ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย โดยการตั้งศูนย์วิจัยในการเสริมเสร้างคุณภาพชีวิต ทั้งด้านสุขภาพกายสุขภาพจิต จิตวิญญาณ คุณธรรม สมาธิ ปัญญา สมดุลแห่งชีวิต  ความผูกพันองค์กร ความสุขอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  6. ฐานข้อมูลสุขภาพกายสุขภาพจิต จิตวิญญาณ ความพึงพอใจ ความผูกพันองค์กร สมดุลแห่งชีวิต ความสุขคนทำงาน และองค์กรแห่งความสุขในประเทศไทย
  7. ชุดประชาสัมพันธ์