โครงการการจัดทำชุดความรู้และข้อมูลวิชาการเพื่อสนับสนุนการออกแบบนโยบายด้านกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย

โครงการการจัดทำชุดความรู้และข้อมูลวิชาการเพื่อสนับสนุนการออกแบบนโยบายด้านกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย

หัวหน้าโครงการ: ดิยาฮ์ อนันตาเลีย วิดยาสตาริ
นักวิจัย: ปัญญา ชูเลิศ , อภิชาติ แสงสว่าง

ระยะเวลาดำเนินการ: เมษายน 2565 – มีนาคม 2566

โครงการนี้เป็นโครงการจัดทำชุดความรู้และข้อมูลทางวิชาการที่ครอบคลุมมิติปัจจัยที่เกี่ยวข้องสำหรับสนับสนุนการวางแผนและออกแบบนโยบายเชิงยุทธศาสตร์เพื่อดำเนินงานด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนให้เกิดประสิทธิภาพต่อการปรับเปลี่ยนทั้งในเชิงสังคม (society) สภาพแวดล้อม(environment) และโอกาสสำหรับบุคคล (people) ในการเข้าถึงความรู้ โอกาส และสภาพแวดล้อมอย่างเท่าเทียมเสมอภาค โดยมีปัจจัยแวดล้อมอันประกอบด้วยบ้าน โรงเรียน และชุมชน เป็นนิเวศที่คอยหนุนเสริมการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนให้เพิ่มสูงขึ้นตามเป้าหมายและอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการพัฒนาการของชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อจัดชุดความรู้และข้อมูลวิชาการต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้เพื่อการสนับสนุนการออกแบบนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย
  2. เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินและสำรวจข้อมูลด้านการมีกิจกรรมทางกายในเด็กปฐมวัย (อายุต่ำกว่า 5 ปี) และความรอบรู้ทางกาย (Physical Literacy) ในเด็กและเยาวชนไทย
  3. เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่ชุดความรู้และข้อมูลทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นที่รับทราบและใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ปฐมวัย (0 – 5 ปี)
  2. วัยเรียน (6 – 12 ปี)
  3. วัยรุ่น (13 – 15ปี)
  4. เยาวชน (15 – 20 ปี)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ชุดความรู้เละข้อมูลทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งานด้านการออกแบบและตัดสินใจเชิงนโยบาย จำนวนอย่างน้อย 5 ชิ้น
  2. บทความวิจัยตีพิมพ์ ที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2564 ลงวารสารวิชาการระดับนานาชาติ อย่างน้อย 2 เรื่อง
  3. ข้อเสนอเชิงนโยบาย จากข้อมูลสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2564 เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ 1 เรื่อง
  4. ชุดข้อมูลและเครื่องมือ สำหรับการสำรวจกิจกรรมทางกายในเด็ก ปฐมวัย 1 ฐานข้อมูล
  5. เครื่องมือสำหรับการประเมินความรอบรู้ทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน 1 เครื่องมือ
  6. เอกสารสื่อสารสาธารณะในรูปแบบออนไลน์  เพื่อการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นที่รับทราบต่อสาธารณชนที่สนใจ และเครือข่ายทางวิชาการผ่านทางเว็บไชต์  อย่างน้อย 5 ชิ้น
  7. ฐานข้อมูล และชุดความรู้วิชาการถูกนำไปใช้เพื่อการผลักดันโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

ผลผลิต

  1. ฐานข้อมูลและชุดความรู้วิชาการถูกนำไปใช้เพื่อการผลักดันนโยบายด้า นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย
  2. บทความวิจัยตีพิมพ์ที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ.2564 ลงวารสารวิชาการระดับนานาชาติ อย่างน้อย 2 เรื่อง

เป้าหมายหลักของโครงการ

พัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้มีชุดความรู้ ข้อมูลเชิงวิชาการ และเครื่องมือด้านการวัดและติดตามผลเชิงพฤติกรรมที่มีความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการดำเนินงานด้านการออกแบบและกำหนดนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กแลเยาวชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกขับเคลื่อนโดยใช้ข้อมูลเป็นฐานในการประกอบการออกแบบและตัดสินใจ รวมถึงจะทำการนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทยเพื่อให้เป็นที่รับทราบทั้งในระดับสาธารณชน เครือข่ายวิชาการ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

  1. ชุดความรู้และข้อมูลทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งานด้านการออกแบบและตัดสินใจเชิงนโยบาย จำนวนอย่างน้อย 5 ชิ้น
  2. บทความวิจัยตีพิมพ์ ที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2564 ลงวารสารวิชาการระดับนานาชาติ อย่างน้อย 2 เรื่อง
  3. ข้อเสนอเชิงนโยบาย จากข้อมูลสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2564 เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ 1 เรื่อง
  4. ชุดข้อมูลและเครื่องมือสำหรับการสำรวจกิจกรรมทางกายในเด็กปฐมวัย 1 ฐานข้อมูล
  5. เครื่องมือสำหรับการประเมินความรอบรู้ทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน 1 เครื่องมือ
  6. เอกสารสื่อสารสาธารณะในรูปแบบออนไลน์ เพื่อการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย ให้เป็นที่รับทราบต่อสาธารณะชนที่สนใจ และเครือข่ายทางวิชาการผ่านทางเว็บไซต์ อย่างน้อย 5 ชิ้น

วิธีการดำเนินงาน

โครงการวิจัยนี้ออกแบบกระบวนการทำงานที่มุ่งเน้นความถูกต้องเชิงระเบียบวิธีวิจัย ตลอดจนมุ่งเน้นให้เกิดผลผลิตที่สามารถนำไปใช้เพื่อการสนับสนุนการออกแบบนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนของภาคีเครือข่าย สสส. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดกิจกรรมสำคัญเป็น 3 กิจกรรมดังนี้

กิจกรรมที่ 1 การสนับสนุนชุดความรู้และข้อมูลทางวิชาการเพื่อการออกแบบนโยบาย

สำหรับการดำเนินงานของกิจกรรมนี้เป็นการสานต่อความสำเร็จการทำงานวิชาการร่วมกับเครือข่ายระดับนานาชาติในลักษณะดังกล่าวกับกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 5-17 ปี ร่วมกับเครือข่าย Active Healthy Kids Global Alliances (AHKGA) กับ 60 ประเทศทั่วโลก ที่ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน รวมถึงได้มีโอกาสขยายเครือข่ายการดำเนินการวิจัยที่มีคุณภาพระดับสูง ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยที่มีศักยภาพในการวิจัยและคิดค้นนวัตกรรม เพื่อร่วมพัฒนาและต่อยอดชุดเครื่องมือสำคัญที่เป็นการหลอมรวมศาสตร์และองค์ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินและสำรวจข้อมูลด้านการมีกิจกรรมทางกายในเด็กปฐมวัย (อายุต่ำกว่า 5 ปี) และความรอบรู้ทางกาย (Physical Literacy) ในเด็กและเยาวชนไทย

ในกิจกรรมนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลกับเด็กปฐมวัยที่สุ่มได้จากจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลและบริบทชุมชน (ที่อยู่อาศัย) ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างจะถูกสุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stages Random Sampling) โดยพิจารณาจากพื้นที่ในเมือง/ชนบท ขนาดศูนย์ อายุและเพศของเด็ก เด็กทั้งหมดจำนวน 600 คน ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลและบริบทชุมชน (ในเมือง 300 คน และชนบท 300 คน) ใน 4 ภาค สำหรับการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยเทียบกับเครื่องมือวัดการเคลื่อนไหว (accelerometer) ที่เป็นมาตรฐาน เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเป็นการทำงานร่วมกับเครือข่าย Early Start โดย School of Health and Society, Faculty of Arts, Social Science and Humanities, มหาวิทยาลัย Wollongong ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้ริเริ่มศึกษาวิจัยในเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้การศึกษาวิจัยของโครงการ SUNRISE ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย พฤติกรรมหน้าจอ และการนอนหลับของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีกลุ่มประเทศที่มีรายได้ระดับต่ำถึงปานกลางเข้าร่วมศึกษากว่า 23 ประเทศ และการพัฒนาเครื่องมือเพื่อการวัดประเมินความรอบรู้ทางกาย (Physical Literacy) ได้มีการประสานการทำงานร่วมกับสมาคมกีฬาประเทศญี่ปุ่น (Japan Sport Association: JSPO) และเครือข่ายทางวิชาการอื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 การสนับสนุนและเผยแพร่ชุดความรู้และข้อมูลทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นที่รับทราบและใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

กิจกรรมนี้เป็นการสนับสนุนข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการจัดทำนโยบายที่สำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กให้กับ สสส. และภาคีเครือข่ายได้มีชุดความรู้ ข้อมูล และเครื่องมือสำหรับประกอบการตัดสินใจ ขณะเดียวกันยังเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและสร้างเครือข่ายทางวิชาการ ทั้งนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และผู้ทรงคุณวุฒิในแขนงที่เกี่ยวข้องด้านกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อสนับสนุน และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านกิจกรรมทางกายร่วมกับภาคีทั้งภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชน ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ

ในส่วนของการเผยแพร่ผลที่เกิดจากข้อมูลสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2564 ให้เป็นที่รับทราบทั้งในระดับสากล ร่วมกับประเทศสมาชิกอีก 60 ประเทศทั่วโลก ภายใต้การดำเนินงานขององค์กร Active Healthy Kids Global Alliance (AHKGA) ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านกิจกรรมทางกาย ณ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในปี 2022 ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์กร International Society for Physical Activity and Health (ISPAH) องค์การอนามัยโลก

ภาพประกอบโครงการ

ที่มา : https://www.nationthailand.com/lifestyle/sport/40025265