โครงการ การคาดประมาณขนาดประชากรหลากหลายทางเพศ  และสถานการณ์ชีวิตและสุขภาพของ LGBTQ+

โครงการ การคาดประมาณขนาดประชากรหลากหลายทางเพศ และสถานการณ์ชีวิตและสุขภาพของ LGBTQ+

ที่ปรึกษาโครงการ: รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล
หัวหน้าโครงการ: กุลภา วจนสาระ
นักวิจัยโครงการ: นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
ระยะเวลา: ตุลาคม 2566 – มิถุนายน 2568

VDO แนะนำโครงการ

วัตถุประสงค์

  1. ได้ขนาดของประชากรหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โดยใช้วิธีการสำรวจเชิงปริมาณอย่าง เป็นระบบสองรูปแบบ เและข้าใจสถานการณ์ชีวิตและสุขภาพของประชากร LGBTQ+ ที่สามารถใช้ เป็นข้อมูลฐานในการพัฒนานโยบายและมาตรการทางสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ สำหรับ ประชากรกลุ่มนี้
  2. คาดประมาณขนาดของประชากรกลุ่มหลากหลายทางเพศ โดยวิธีการสำรวจประชากร (population-based survey)
  3. พัฒนาวิธีการสำรวจเชิงพื้นที่นำร่อง (setting-based survey) เพื่อคาดประมาณจำนวนของ ประชากร LGBTQ+ ในแต่ละกลุ่มย่อยหลัก ๆ
  4. วิเคราะห์สถานการณ์ชีวิตและสุขภาพ โดยเฉพาะความรอบรู้เรื่องสุขภาพ (health literacy) ของ กลุ่มประชากรหลากหลายทางเพศที่ได้จากการสำรวจในข้อ 1 และ 2

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้วิธีการคาดประมาณขนาดประชากร หลากหลายทางเพศ
  2. ได้ชุดความรู้ในการประมาณขนาดประชากรกลุ่มย่อยของ LGBTIQ+ โดยการสำรวจเชิงพื้นที่
  3. ได้ชุดความรู้ด้านสถานการณ์ชีวิตและ สุขภาพของประชากรหลากหลายทางเพศ

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดนวัตกรรมวิธีประมาณการขนาดประชากรกลุ่มหลากหลายทางเพศจากการสำรวจเชิงประชากร (population-based survey) และการสำรวจเชิงพื้นที่ (setting-based survey)
  2. ได้แบบสำรวจครัวเรือนและแบบสัมภาษณ์บุคลเกี่ยวกับสถานการณ์ชีวิตและสุขภาพ ที่สามารถนำ ไปพัฒนาใช้ต่อยอดในการคึกษาที่คล้ายคลึงกันในอนาคต
  3. ได้ขนาดประชากร LGBTQ+ จากการคาดประมาณครั้งแรกในประเทศไทย ที่สามารถใช้เป็นข้อมูล ฐานในการพัฒนานโยบายและมาตรการทางสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ สำหรับประชากรกลุ่มนี้