โครงการที่ปรึกษาการถอดบทเรียน (Learning Brief) การดำเนินงานโครงการ  “การเข้าถึงแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในบ้านพักชั่วคราวแรงงานก่อสร้าง”

โครงการที่ปรึกษาการถอดบทเรียน (Learning Brief) การดำเนินงานโครงการ “การเข้าถึงแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในบ้านพักชั่วคราวแรงงานก่อสร้าง”

(REACH – Reaching Women Migrant Workers and Their Families in Construction Camps)

หัวหน้าโครงการ: กัญญา อภิพรชัยสกุล
ระยะเวลา: เมษายน 2566 – มิถุนายน 2566

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญของการเข้าถึงสิทธิแรงงานของแรงงานข้ามชาติในภาคก่อสร้าง มูลนิธิมีความเข้าใจว่ากฎหมายและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิแรงงานมีความชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีแรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิของตน บางคนเข้าใจแต่เข้าไม่ถึงบริการ มูลนิธิจึงได้ดำเนินโครงการ “การเข้าถึงแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในบ้านพักชั่วคราวแรงงานก่อสร้าง” โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อถอดบทเรียนการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) เพื่อถอดบทเรียนการเสริมสร้างความรู้และความตระหนักถึงสิทธิ และสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับของแรงงานหญิงและครอบครัวและ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักอื่นๆในกลุ่มประชากรข้ามชาติ

การดำเนินโครงการฯ ในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้รับเหมารายย่อย รับผิดชอบดูแลแรงงานและหน้างานเอง จะเข้ามามีส่วนร่วมจากการจัดกิจกรรมของโครงการฯ มาเข้าร่วมอบรม และให้แรงงานได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ทีมอาสาเข้าไปจัดให้ เปิดพื้นที่ให้ทีมอาสาเข้าไปดำเนินกิจกรรมในแต่ละครั้ง อาจจะกล่าวได้ว่า “ผู้รับเหมาที่ดี” จะเป็นกุญแจดอกสำคัญหนึ่งที่จะเปิดให้โอกาส และเห็นความสำคัญจากเป้าหมายของโครงการเข้าไปสู่แรงงาน ทำให้แรงงานสามารถเข้าถึงได้ อาจจะมากหรือน้อยแต่เมื่อได้ริเริ่ม จึงถือเป็นแนวทางที่ดี ที่ทำให้เกิดผลประโยชน์แรงงานที่เข้าร่วมกิจกรรม อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาการเข้าถึงแรงงานคือ โครงการที่มีผู้รับเหมาเป็นบริษัทรับผิดชอบ ซึ่งการทำงานก่อสร้างให้เสร็จทันตามกำหนดระยะเวลาและไม่เสียหายต่อสัญญาจ้างกับโครงการ ส่วนนี้เป็น Big rock อย่างหนึ่งที่ทำให้ทีมอาสาและโครงการอาจจะยังเข้าไม่ถึงพื้นที่เข้าไม่ถึงแรงงานเพื่อจัดกิจกรรม พรากโอกาสที่จะเข้าไปถึงแรงงานได้ หรือได้อย่างไม่เต็มที่ อาจจะได้เพียงนำสิ่งของ หรือสื่อความรู้ที่จะสามารถนำไปให้แรงงานศึกษากันเองเท่านั้น

การถอดบทเรียนและได้รับฟังมุมมองของตัวแทนบริษัท ผู้รับเหมา สะท้อนปัญหาของกระบวนการและเรื่องของสิทธิแรงงานที่ยังมีช่องว่าง และยังเป็นความไม่เข้าใจทั้งจากตัวแรงงานเองและผู้รับเหมาด้วย     ทั้งปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขึ้นทะเบียนแรงงาน เป็นภาระอย่างหนึ่งสำหรับกลุ่มผู้รับเหมา     รายย่อยที่มีกลุ่มแรงงานที่ดูแลอยู่และต้องการทำทุกกระบวนการให้มีความถูกต้องตามกฎหมายการทำงานของแรงงานข้ามชาติเพราะไม่อยากจะให้เกิดปัญหาที่ตามมา จากการถูกตรวจหรือถูกจับกุมจากเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะต่างกันกับแรงงานที่ทำงานให้กับบริษัทใหญ่ ยังพบว่าแรงงานบางส่วนยังไม่ได้ดำเนินการในด้านการขึ้นทะเบียนและมีเอกสารประจำตัวที่ถูกต้อง เพื่อจะสามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อถอดบทเรียนการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้แรงงานข้ามชาติหญิงและครอบครัวสามารถเข้าถึงการให้บริการจากภาครัฐและเอกชนได้รวมถึงกลไกการรายงานเหตุกรณีถูกละเมิดสิทธิ
  2. เพื่อถอดบทเรียนการเสริมสร้างความรู้และความตระหนักถึงสิทธิ และสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับของแรงงานหญิงและครอบครัวจากแนวทางการฝึกอบรม การประสานความร่วมมือ และการดึงส่วนร่วมจากอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานข้ามชาติ (อสต.) ในชุมชน
  3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักอื่นๆ ในกลุ่มประชากรข้ามชาติ พัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐ เพื่อส่งเสริมให้แรงงานข้ามชาติหญิงและเด็กข้ามชาติสามารถเข้าถึงการศึกษาและบริการด้านสาธารณสุข และได้รับการคุ้มครองสิทธิแรงงาน รวมทั้งยังส่งเสริมให้นาโครงการนี้มาเป็นต้นแบบของแนวปฏิบัติที่ดีในการดาเนินโครงการในลักษณะเดียวกันทั่วทั้งกลุ่มธุรกิจของแสนสิริ ตลอดจนนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายอื่นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และเกิดแผนงานตามยุทธศาสตร์ระดับชาติในอนาคต

ผลผลิต

  1. การประสานความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้แรงงานข้ามชาติหญิงและครอบครัวสามารถเข้าถึงการให้บริการจากภาครัฐและเอกชนได้ รวมถึงกลไกการรายงานเหตุกรณีถูกละเมิดสิทธิ
  2. การเสริมสร้างความรู้และความตระหนักถึงสิทธิ และสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับของแรงงานหญิงและครอบครัวจากแนวทางการฝึกอบรม การประสานความร่วมมือ และการดึงส่วนร่วมจากอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ (อสต.) ในชุมชน
  3. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักอื่นๆ ในกลุ่มประชากรข้ามชาตพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐ เพื่อส่งเสริมให้แรงงานข้ามชาติหญิงและเด็กข้ามชาติสามารถเข้าถึงการศึกษาและบริการด้านสาธารณสุข และได้รับการคุ้มครองสิทธิแรงงาน รวมทั้งยังส่งเสริมให้นาโครงการนี้มาเป็นต้นแบบของแนวปฏิบัติที่ดีในการดาเนินโครงการในลักษณะเดียวกันทั่วทั้งกลุ่มธุรกิจของแสนสิริ ตลอดจนนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายอื่นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และเกิดแผนงานตามยุทธศาสตร์ระดับชาติในอนาคต