โครงการ การเปลี่ยนแปลงและผลสะท้อนกลับเชิงนโยบายของระบบการช่วยเหลือเบื้องต้น ต่อความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่พิสูจน์ความผิดในประเทศไทย

โครงการ การเปลี่ยนแปลงและผลสะท้อนกลับเชิงนโยบายของระบบการช่วยเหลือเบื้องต้น ต่อความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่พิสูจน์ความผิดในประเทศไทย

หัวหน้าโครงการ: ณปภัช สัจนวกุล
ที่ปรึกษาโครงการ: ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา

ระยะเวลาดำเนินการ: มีนาคม 2565 – มีนาคม 2567

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการดำเนินงานเรื่องระบบการช่วยเหลือเบื้อต้นต่อผู้ที่ได้รับ ความเสียหายจากบริการสาธารณสุขโดยไม่พิสูจน์ความผิด (no-fault compensation) ที่มีการดำเนินการอยู่ในประเทศไทย
  2. เพื่อวิเคราะห์ผลสะท้อนกลับเชิงนโยบาย ทั้งในด้านบวก (self-reinforcing effects) และด้านลบ (self-undermining effects) ที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบการช่วยเหลือเบื้องต้นต่อผู้ท่ีได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุขโดยไม่พิสูจน์ความผิด ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 จากมุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในนโยบาย ในแง่ผลกระทบด้านการบริหารจัดการ (administrative effects) ด้านงบประมาณ (fiscal effects) และด้านสังคม การเมือง (socio-political effects) เพื่อชี้ให้เห็นช่องว่างและโอกาสในการพัฒนาระบบดังกล่าวต่อไป
  3. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการพัฒนาและออกแบบแนวทางของระบบการช่วยเหลือเบื้องต้นต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข โดยไม่พิสูจน์ความผิด (no-fault compensation) ให้เกิดขึ้นสำหรับคนทุกคนในสังคมไทย ไม่ว่าจะเข้ารับบริการด้วยสิทธิหรือวิธีการใด