โครงการมโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคม และสุขภาพ

โครงการมโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคม และสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน:
สถานะ: เสร็จสิ้นโครงการ
หัวหน้าโครงการ: รศรินทร์ เกรย์
ที่ปรึกษาโครงการ: ปราโมทย์ ประสาทกุล

นักวิจัย: อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, เรวดี สุวรรณนพเก้า

วัตถุประสงค์:

1. ค้นหาความหมายของการเป็นผู้สูงอายุ
ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ใน
มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ เปรียบเทียบกลุ่มคนเมือง ชนบท และต่างประเทศ 
2. ค้นหาผลกระทบเชิงจิตวิทยาสังคม และสุขภาพ ต่อการเปลี่ยนแปลงนิยามของผู้สูงอายุ เช่น ถ้ากำหนดความหมายผู้สูงอายุโดยใช้มโนทัศน์ใหม่ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ หรือเปลี่ยนนิยามตามมโนทัศน์ใหม่ แต่ไม่แก้กฎหมาย
3. ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนิยามความหมายใหม่ของผู้สูงอายุและวิธีการเปลี่ยนแปลงนิยามผู้สูงอายุให้เป็นที่ยอมรับต่อสังคม เปรียบเทียบวิธีการเปลี่ยนแปลงกับต่างประเทศ.
ประโยชน์ของโครงการนี้
ทราบถึงบริบทเกี่ยวกับความเป็นผู้สูงอายุในสังคมไทย และต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงการได้นิยามของการเป็นผู้สูงอายุไทยที่สอดรับกับสถานการณ์ของสังคมผู้สูงอายุของไทยที่เปลี่ยนแปลงไป มุมมองของสังคมถึงความเหมาะสม และผลกระทบที่ได้รับหากมีการเปลี่ยนนิยามผู้สูงอายุ และวิธีการเปลี่ยนแปลงนิยามผู้สูงอายุให้เป็นที่ยอมรับต่อสังคม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เช่น ด้านอายุเกษียณ อายุได้รับสวัสดิการ การทำงาน ด้านจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ ซึ่งต้องใช้เวลาสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน