ระยะเวลาดำเนินงาน: มีนาคม – ตุลาคม 2560
สถานะ: กำลังดำเนินการ
หัวหน้าโครงการ: โยธิน แสวงดี
ที่ปรึกษาโครงการ: รศรินทร์ เกรย์
นักวิจัย: ชุติมา อยู่สมบูรณ์, กรกนก พงษ์ประดิษฐ์, ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
วัตถุประสงค์:
- เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชน สภาพเศรษฐกิจ สังคม การอยู่อาศัย และจัดทำฐานข้อมูลผู้พักอาศัยในโครงการเคหะชุมชนห้วยขวาง
- เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านกายภาพ รวมทั้งนโยบายยุทธศาสตร์แผนงานที่เกี่ยวข้องอันจะส่งผลกระทบในการฟื้นฟูและการพัฒนาพื้นที่เคหะชุมชนห้วยขวางรวมทั้งวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการดำเนินการฟื้นฟูเคหะชุมชนในอนาคต
- เพื่อค้นหาแนวทางสำหรับใช้ในการพัฒนาแกนนำชุมชนและคณะกรรมการชุมชนห้วยขวางให้มีความรู้และทักษะในการฟื้นฟูชุมชนห้วยขวาง อันจะทำให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและฟื้นฟูชุมชนต่อไปในอนาคต
- เพื่อค้นหาแนวทางเพื่อการเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ การพัฒนาในปัจจุบัน เสนอแนะแผนการดำเนินการระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้อยู่อาศัยในโครงการเคหะชุมชนห้วยขวาง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ข้อค้นพบอันโดเด่นจากการวิจัย จะทำให้ทราบถึงสภาะเศรษฐกิจ สังคม สภาพการพัฒนาในปัจจุบัน และโครงการพัฒนาในอนาคตที่ส่งผลต่อพื้นที่เคหะชุมชนห้วยขวาง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน(รัศมี 5 กิโลเมตร) รวมถึงจำนวนประชากรในปัจจุบันและคาดการณ์จำนวนประชากรในอนาคต
- ประเด็นสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเคหะแห่งชาติเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบสำหรับวางแผนพัฒนาต่อไปในอนาคต คือ ผลการวิจัยจะชี้ให้ทราบถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม สภาพการอยู่อาศัยและปัญหาในการพักอาศัยของผู้ที่อยู่อาศัยในเคหะชุมชนหัวยขวาง ทั้ง 38 อาคาร (จำนวน 3360 หน่วย) ที่ได้ทำการรวบรวมข้อมูลในลักษณะการเป็นตัวแทนอย่างถูกต้องตามหลักการของการสุ่มตัวอย่างตามโอกาสของความน่าจะเป็น ที่เน้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
- เนื้อหาและสาระที่สำคัญที่ได้จากการวิจัยในเชิงคุณภาพจะทำให้ทราบถึงความคิดเห็นต่อสภาพการณ์อยู่อาศัยในปัจจุบันของผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ประชาชนผู้พักอาศัยทั้งผู้ที่เป็นคู่สัญญากับการเคหะแห่งชาติ ผู้เช่า นอกจากนี้จะทำให้ทราบถึง แนวคิด นโยบาย และแผนการพัฒนาโครงการต่างๆ ที่สำคัญยิ่งจะช่วยให้ผู้นำชุมชนได้รับการเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการฟื้นฟูเมืองในระยะต่อไปด้วย
- ผลการวิจัยจะทำให้ได้ข้อสรุปที่เป็นแนวทางในการการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ การพัฒนาในปัจจุบัน ที่สำคัญจะสามารถนำไปใช้เสนอแผนในอนาคตที่เป็นทั้งแผนในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ได้อย่างดียิ่ง
ผลผลิต
- ด้านวิชาการ สามารถใช้เป็นเอกสารและข้อมูลอ้างอิงได้
- ด้านนโยบาย ข้อค้นพบตามคำถามวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัยสามารถนำไปใช้ชี้นำนโยบายของการเคหะแห่งชาติได้
- ด้านเศรษฐกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจในการดำเนินงานตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองได้
- ด้านสังคม ชุมชน สามารถนำไปใช้สำหรับการกำหนดแนวทางเพื่อการพัฒนาชุมชนทั้งในเชิงพื้นที่ ภูมิทัศน์ ครัวเรือน และสร้างเสริมสวัสดิการที่จำเป็นในสังคมเมืองได้ดีขึ้นเพราะมีผลการวิจัยยืนยัน