บาดแผลตกค้างจากโควิด ไทยมีเด็กกำพร้ากว่า 5 หมื่นคน แนะรัฐเร่งจัดสวัสดิการ-เยียวยาผลกระทบ

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ที่มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) รศ.ดร.จงจิตต์ ฤทธิรงค์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายหัวข้อ “เด็กกำพร้าจากโควิด-19 ในประเทศไทย” ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 18 “ประชากรและสังคม 2567” จัดโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยระบุว่า ตามข้อมูลที่รวบรวมจากกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ในช่วงเดือน เม.ย. 2563-ก.ค. 2565 มีผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ในประเทศไทย 42,194 ราย ส่วนใหญ่ ร้อยละ 74 เป็นผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี..
.
ขณะที่มีเด็กและเยาวชน อายุตั้งแต่ 0-17 ปี กลายเป็นกำพร้า เพราะสูญเสียพ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่ จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 จำนวน 4,139 คน และในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 452 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9 ซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบางต้องการความช่วยเหลือมากเป็นพิเศษ นอกจากนั้น หากนับรวมการสูญเสียญาติคนอื่นๆ ในครอบครัว (พี่น้อง ปู่ย่าตายาย ฯลฯ) จำนวนเด็กและเยาวชนที่เผชิญความสูญเสียจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จะสูงถึง 58,068 คน
.
จากผลการศึกษา เสนอให้รัฐจัดสรรสวัสดิการตามสิทธิที่ควรได้ แต่ก็ไม่ใช่เฉพาะการสูญเสียพ่อแม่เท่านั้น ที่จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และจิตใจของเด็ก การสูญเสียญาติคนอื่นๆ รวมทั้งปู่ย่าตายาย ที่เขาจะเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวหนึ่งๆ ก็ส่งผลกระทบต่อเด็กด้วยเช่นเดียวกัน – รศ.ดร.จงจิตต์ กล่าว
.
อ่านต่อได้ที่ เว็บไซต์แนวหน้าออนไลน์ https://www.naewna.com/local/813755