ประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2568
(ปีที่ 34: มกราคม 2568)
ประชากรคาดประมาณ ณ กลางปี 2568 (1 กรกฎาคม)
วัตถุประสงค์ |
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม จัดพิมพ์ “สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล” ในเดือนมกราคมของทุกปี ทั้งฉบับภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ดัชนีทางประชากร โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ล่าสุดนำมาคาดประมาณประชากรของแต่ละปี ดังนั้น จึงไม่ควรนำตัวเลขคาดประมาณจาก “สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล” ปีต่างๆ ไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวโน้มทางประชากร |
ชาย | หญิง | รวม | ||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนประชากรทั้งประเทศ (หน่วยเป็นพัน) | 31,580 | 34,117 | 65,697 |
2 | จำนวนประชากรแยกตามที่อยู่อาศัย (หน่วยเป็นพัน) | |||
เขตเมือง (ประชากรที่อยู่ในเขตเทศบาล และเมืองทุกประเภท) | 19,940 | 21,571 | 41,511 | |
เขตชนบท (ประชากรที่อยู่นอกเขตเมือง) | 11,640 | 12,546 | 24,186 | |
3 | จำนวนประชากรแยกตามภาค (หน่วยเป็นพัน) | |||
กรุงเทพมหานคร | 3,977 | 4,321 | 8,298 | |
ภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพฯ) | 9,628 | 10,344 | 19,972 | |
ภาคเหนือ | 5,053 | 5,529 | 10,582 | |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 8,434 | 9,165 | 17,599 | |
ภาคใต้ | 4,488 | 4,758 | 9,246 | |
4 | จำนวนประชากรแยกตามกลุ่มอายุ (หน่วยเป็นพัน) | |||
ประชากรวัยเด็ก (ต่ำกว่า 15 ปี) | 4,856 | 4,629 | 9,485 | |
ประชากรวัยแรงงาน (15-59 ปี) | 20,667 | 21,086 | 41,753 | |
ประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) | 6,057 | 8,402 | 14,459 | |
ประชากรสูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) | 3,900 | 5,864 | 9,764 | |
ประชากรก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) | 1,567 | 1,498 | 3,065 | |
ประชากรวัยเรียน (6-21 ปี) | 6,118 | 5,835 | 11,953 | |
สตรีวัยเจริญพันธุ์ (15-49 ปี) | 15,612 | |||
5 | อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด | ชาย 72.0 ปี | ||
(จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าบุคคลที่เกิดมาแล้วจะมีชีวิตต่อไปอีกกี่ปี) | หญิง 80.1 ปี | |||
6 | อายุคาดเฉลี่ยที่อายุ 60 ปี | ชาย 17.5 ปี | ||
(จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าผู้ที่อายุ 60 ปีจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกกี่ปี) | หญิง 23.2 ปี | |||
7 | อายุคาดเฉลี่ยที่อายุ 80 ปี | ชาย 5.8 ปี | ||
(จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าผู้ที่อายุ 80 ปีจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกกี่ปี) | หญิง 8.3 ปี | |||
8 | อัตราชีพ | |||
อัตราเกิด (ต่อประชากรพันคน) | 6.2 | |||
อัตราตาย (ต่อประชากรพันคน) | 9.3 | |||
อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ (ร้อยละ) | -0.3 | |||
อัตราตายทารก (ต่อการเกิดมีชีพพันราย) | 7.2 | |||
อัตราตายเด็กต่ำกว่า 5 ปี (ต่อการเกิดมีชีพพันราย) | 10.3 | |||
9 | อัตราเจริญพันธุ์รวม (จำนวนบุตรโดยเฉลี่ยที่สตรีคนหนึ่งจะมีตลอดวัยเจริญพันธุ์ของตน) | 0.93 | ||
10 | อัตราคุมกำเนิด (ร้อยละ) | 73.0 | ||
11 | ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ที่มีการมองเห็นไม่ชัดเจน หรือมองไม่เห็น (ร้อยละ) | 50.3 | 49.4 | 50.9 |
แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการคาดประมาณ |
– การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565 สำนักงานสถิติแห่งชาติและองค์การยูนิเซฟ – สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ – การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550 2554 2557 2560 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ – รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ – สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย |
คำอธิบายข้อมูล |
– ประชากรในรายการ 1-4 : ประชากรสัญชาติไทย และประชากรที่ไม่ใช่สัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน – อัตราเกิด (ต่อประชากรพันคน) : จำนวนเกิดทั้งหมดในปีหนึ่ง หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปีนั้น คูณด้วย 1,000 – อัตราตาย (ต่อประชากรพันคน) : จำนวนตายทั้งหมดในปีหนึ่ง หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปีนั้น คูณด้วย 1,000 – อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ (ร้อยละ) : จำนวนเกิดลบด้วยจำนวนตาย หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปี คูณด้วย 100 – อัตราตายทารก (ต่อเด็กเกิดมีชีพพันราย) : จำนวนทารกตายเมื่ออายุต่ำกว่า 1 ปีในปีหนึ่ง หารด้วย จำนวนการเกิดมีชีพทั้งหมดในปีนั้น คูณด้วย 1,000 – อัตราตายเด็กต่ำกว่า 5 ปี (ต่อเด็กเกิดมีชีพพันราย) : จำนวนเด็กตายเมื่ออายุต่ำกว่า 5 ปีในปีหนึ่ง หารด้วยจำนวนการเกิดมีชีพทั้งหมดในปีนั้น คูณด้วย 1,000 – อัตราเจริญพันธุ์รวม : จำนวนบุตรโดยเฉลี่ยที่สตรีคนหนึ่งจะมีตลอดวัยเจริญพันธุ์ของตน คำนวณได้จากการรวมอัตราเกิดรายอายุของสตรีตลอดวัยเจริญพันธุ์ – อัตราคุมกำเนิด : ร้อยละของสตรีอายุ 15 – 49 ปี ที่แต่งงานแล้วและยังอยู่กินกับสามีที่กำลังใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ |