สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (IPSR) ลงนามความร่วมมือ (MOU) ขับเคลื่อนแนวปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ
วันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2565 ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) ขับเคลื่อนแนวปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ณ บริเวณห้องโถงอาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย โดยในพิธีดังกล่าว รศ.ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยความร่วมมือ (MOU) ขับเคลื่อนแนวปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ร่วมกับ 4 หน่วยงาน
ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ระหว่าง กรมอนามัย ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเป็นการลงนามร่วมกับ นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย (อธิบดีกรมอนามัย), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์ (ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทย) และ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม (ผู้ช่วยผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5) สสส.) พร้อมด้วยคณะวิจัยจากศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. ปิยวัฒน์ เกตุวงศา, นายปัญญา ชูเลิศ, นางสาวชุติมา อยู่สมบูรณ์, นางสาวนันทวัน ป้อมค่าย, นายดนุสรณ์ โพธารินทร์ และ นายสุรศักดิ์ เพ็ญใหม่ ได้เข้าร่วมการลงนามความร่วมมือ (MOU) ครั้งนี้ด้วย
พิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) ครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้กรมอนามัย ดำเนินการร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ขับเคลื่อนแนวปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดที่เพียงพอจะทำให้มีสุขภาพดีทั้งตนเองและทารกในครรภ์ โดยขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมสู่เมืองสุขภาพดี เพื่อช่วยส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพที่ดี ช่วยลดอาการไม่สุขสบายในขณะตั้งครรภ์ ช่วยเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายเพื่อเข้าสู่ระยะคลอด ทำให้การคลอดง่ายขึ้น ส่งผลให้ความเจ็บปวดระหว่างการคลอดลดลง ในระยะหลังคลอดยังส่งเสริม ให้น้ำหนักตัวลดลงสู่ระดับปกติได้อย่างรวดเร็ว และด้านจิตใจพบว่า ลดภาวะซึมเศร้าในสัปดาห์แรกหลังคลอดทำให้ เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีความพึงพอใจในภาพลักษณ์ของตนเองสูงขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อทารก โดยพบว่าความยาวของลำตัวและน้ำหนักทารกแรกเกิดจะมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีกิจกรรมทางกาย