ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 18 ประชากรและสังคม 2567

  

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งสร้างองค์ความรู้ด้านประชากรและสังคมอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สถาบันฯ ดำเนินบทบาทสำคัญทางวิชาการให้กับสังคมไทย ด้วยการพัฒนาสร้างเสริมการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่หลากหลายในลักษณะสหวิทยาการด้านประชากรและสังคม อีกทั้งนำเสนอความรู้และข้อค้นพบสำคัญ ๆ จากการศึกษาวิเคราะห์วิจัย ไปเผยแพร่ทั้งในแวดวงวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย สื่อมวลชน และสาธารณชนทั่วไป เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงรุก ในการเตรียมความพร้อมรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ วัฒนธรรม และการเมือง อย่างต่อเนื่องทั้งในระดับประเทศ และในภูมิภาคต่างๆ ของโลก สถาบันฯ มุ่งหวังว่าองค์ความรู้และข้อค้นพบต่างๆ ที่หลากหลายจากผลการวิเคราะห์วิจัย จะมีความสำคัญต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสำหรับการบรรลุเป้าหมายความอยู่ดีมีสุขร่วมกันอย่างยั่งยืนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

สถาบันฯ เล็งเห็นความสำคัญของการถ่ายทอดข้อค้นพบและบทวิเคราะห์ด้านประชากรและสังคมสู่สาธารณะ จึงได้ริเริ่มจัดประชุมวิชาการระดับชาติ “ประชากรและสังคม” ขึ้นทุกปี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเป็นเวทีที่นักวิชาการด้านประชากรและสังคมสามารถคืนความรู้สู่สังคมได้ โดยในทุกปีมีการคัดเลือกประเด็น (Theme) การประชุมที่แตกต่างกันไป แต่มีความสอดคล้องและทันต่อสถานการณ์ของสังคมในขณะนั้น 

สำหรับการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ “ประชากรและสังคม 2567” ปี 2567 นี้ สถาบันฯ ได้ดำเนินการมาต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งแรก ในปี 2548 และครั้งนี้เป็นการจัดประชุมครั้งที่ 18 โดยกำหนดการประชุม ภายใต้ชื่อ ประชากรและความยั่งยืน: ประเด็นสำคัญทางนโยบาย (Population and sustainability: Key policy highlight) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้    

  1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ มุมมองทางวิชาการและข้อค้นพบสำคัญจากงานวิจัยของสถาบันฯ สู่สาธารณะ ในประเด็นด้านประชากรและสังคมมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ประชากรและความยั่งยืน
  2. เพื่อเป็นเวทีวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของบุคลากรสถาบันฯ กับเครือข่ายทางวิชาการในหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยมหิดล  รวมถึงศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ภายใต้หัวเรื่องการประชุม “ประชากรและความยั่งยืน: ประเด็นสำคัญทางนโยบาย”

รูปแบบการประชุม แบบ hybrid

Onsite ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ ชั้น 1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
Online ผ่านโปรแกรม ZOOM

ปาฐกถาพิเศษ (Keynote address)

อารยธรรมบนทางสองแพร่ง : ความยั่งยืนกับอนาคตของมนุษยชาติ” (Civilization at the crossroads: sustainability & our human future)

โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์
ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม “Youth In Charge”

เสวนาโต๊ะกลม หัวข้อ “การพัฒนาที่ยั่งยืนกับนโยบายประชากรและสังคม”

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
  2. คุณวรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move)
  4. คุณพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย

การนำเสนอ (Oral Presentation)

  1. แนวคิด “ปั๊มลูกเพื่อชาติ” กับความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการเกิดในสังคมไทย: ข้อเรียนรู้จากอดีตและบทเรียนจากนานาชาติ
    โดย คุณนิธิพัฒน์ ประสาทกุล
  2. เพิ่มเกิดหรือชะลอแก่? แนวทางแก้ปัญหาสังคมสูงอายุอย่างยั่งยืน
    โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มนสิการ กาญจนะจิตรา
  3. เด็กกำพร้าจากโควิด-19 ในประเทศไทย
    โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จงจิตต์ ฤทธิรงค์
  4. Future Scenarios for Thai Families in 2040
    โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร
  1. การตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงส่งผลต่อการกินของเด็กไทยในกรุงเทพฯ อย่างไร
    โดย อาจารย์ ดร.นงนุช จินดารัตนาภรณ์
  2. การยกระดับนโยบายและการดำเนินการเกี่ยวกับอาหารสตรีทฟู้ดเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของประชากรไทย
    โดย ดร.วีรภาคย์ ซำศิริพงษ์
  3. ประชากรไทยกับพฤติกรรมการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมง
    โดย อาจารย์ ดร.นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
  4. Drivers of water pollution in the Mae Klong river basin and institutional barriers to effective water quality management in Thailand
    By Associate Professor Dr. Marc Voelker
  5. กลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาอาชีพประมงพื้นบ้านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    โดย อาจารย์ ดร.บุรเทพ โชคธนานุกูล
  1. New trends of Russian-speaking migration and the formation of a Russian-speaking economy in Southeast Asian countries
    By Lecturer Dr.Sergey Ryazantsev
  2. ก้าวย่างในความยาก: ความเข้มแข็งทางจิตใจและกลวิธีการรับมือของผู้ย้ายถิ่นกลับจากมาเลเซียของชาวไทยมุสลิมสามจังหวัดภาคใต้ในระหว่างการระบาดของโควิด-19
    โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย
  3. นโยบายการทดแทนประชากร ตามบทพลิกกลับของทฤษฎีการตอบโต้หลายทางของคิงสลีย์ เดวิส
    โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์

กำหนดการ

สถานที่จัดงานประชุม

ห้องประชาสังคมอุดมพัฒน์ ชั้น 1
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ถนนพุทธมณสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

การลงทะเบียน

Onsite

200 บาท ผู้ลงทะเบียนล่วงหน้า (Early bird) และชำระเงิน ภายในวันที่ 16 มิถุนายน 2567
300 บาท สำหรับผู้ลงทะเบีบนและชำระเงิน หลังวันที่ 16 มิถุนายน 2567

Online

ไม่เสียค่าลงทะเบียน

สำหรับผู้ประสงค์เข้าร่วมประชุมแบบ Onsite สามารถโอนเงินเข้าบัญชี (Transfer payment ONLY)

“สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล”
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อบัญชี “ม.มหิดล-รายได้สถาบันวิจัยประชากรและสังคม” เลขที่บัญชี 316-2-02440-1

เข้าสู่หน้าเว็บไซต์งานประชุม

ท่านสามารถเข้าสู่เว็บไซต์ของงานประชุมเพื่อดูรายละเอียดต่างๆ และ
Download เอกสารประกอบการประชุม

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานประชุมวิชาการได้ที่

ฝ่ายลงทะเบียน โทรศัพท์ 0-2441-0201-4

ฝ่ายการเงิน โทรศัพท์ 0-2441-0201-4