ครอบครัวไทยในจังหวะสำคัญต่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชน: การพัฒนาปรับปรุงและนำโครงการครอบครัวสำคัญไปประยุกต์ใช้ในระดับประเทศ

ครอบครัวไทยในจังหวะสำคัญต่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชน: การพัฒนาปรับปรุงและนำโครงการครอบครัวสำคัญไปประยุกต์ใช้ในระดับประเทศ

Abstract

ปัจจุบัน เยาวชนไทยมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด ก้าวร้าวเกเร และมีเพศสัมพันธ์กันมากขึ้น ในขณะที่ครอบครัวโดยเฉพาะพ่อแม่มีบทบาทสาคัญที่จะช่วยลดพฤติกรรมเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยยังขาดโปรแกรมแทรกแซงสำหรับครอบครัว (family-based intervention) ที่ช่วยสนับสนุนพ่อแม่ให้มีความรู้และทักษะเหมาะสมในการเลี้ยงดูและกำกับดูแลบุตร สามารถให้คำปรึกษาแก่บุตรวัยรุ่นเพื่อป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเหล้า การก้าวร้าวเกเร การใช้สารเสพติดและการมีเพศสัมพันธ์
 
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ได้จัดทาโครงการร่วม Thai Family Matters (TFM) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2551 ดำเนินการใน 340 ครอบครัวที่มีบุตรอายุ 13-14 ปี ในพื้นที่ 7 เขตของกรุงเทพมหานคร ผลการประเมินแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความเป็นไปได้ของ TFM ที่จะนำมาต่อยอดหรือขยายผลในพื้นที่อื่นๆ การศึกษานี้ จึงเป็นงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ดำเนินการใน 4 จังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละภาค เพื่อปรับรูปแบบของ TFM ให้สอดคล้องกับบริบทและวัฒนธรรม (cultural-adapted TFM) ของแต่ละภาคที่เน้นความมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของของท้องถิ่น 
 
หลักการและวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตร  (parenting behaviors) และความต้องการทักษะและพฤติกรรมของพ่อแม่ที่เกี่ยวข้องกับเหล้าสารเสพติด และเพศสัมพันธ์ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยส่งเสริมและป้องกันบุตร (risks and protective factors) จากพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหล้า สารเสพติดและเพศสัมพันธ์ 3.เพื่อศึกษาผลลัพธ์เบื้องต้นของ TFM ที่มีต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตร และ outcome behaviors ของพ่อแม่/บุตร 4.เพื่อศึกษากระบวนการนำ TFM ไป ใช้ในแต่ละบริบท (cultural- adapted TFM) จากการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น 5.เพื่อการประเมินความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการของท้องถิ่นและดำเนินการนำไปสู่การขยายผลในระดับประเทศ

Moderator: อ.ดร.ธีรนงค์ สกุลศรี

September 7, 2016 Time 12.30 – 13.30 hrs Room 326 Rajavadee