หัวหน้าโครงการ: ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
ระยะเวลา: สิงหาคม 2567 – เมษายน 2568
วัตถุประสงค์
- เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้และสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบ Thailand Zero Dropout รวมถึง Core team จังหวัด คณะกรรมการ CMS ระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ และ CM ของ 25 จังหวัดนำร่อง ให้สามารถติดตาม ค้นหา และส่งต่อความช่วยเหลือ เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือการเรียนรู้ ตามบทบาทหรือความรับผิดชอบของตนได้อย่า งมีประสิทธิภาพ
- เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายการทำงาน Thailand Zero Dropout ระดับ ภูมิภาค ที่สามารถปฏิบัติการ ตามข้อ 1) และมีศักยภาพสามารถยกระดับเป็น เครือข่ายพี่เลี้ยงให้กับเครือข่ายปฏิบัติการอื่นในการทำงานระยะต่อไป
- เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ หนุนเสริมและติดตามการดำเนินงานของคณะทำงาน 16 จังหวัดภายใต้โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับทิศทางการทำงานของ กสศ. และบริบทของพื้นที่ เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อ การพัฒนา วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูล สารสนเทศของจังหวัด เกิดชุดความรู้และระบบฐานข้อมูลจังหวัด เพื่อสนับสบุนแผนบูรณาการความร่วมมือเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของจังหวัด ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างจังหวัด
- เพื่อสนับสนุน และติดตามให้การดำเนินงานของคณะทำงานที่ปฏิบัติงานตามกรอบ Thailand Zero Dropout และตามกรอบการจัด การศึกษาเชิงพื้นที่ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด
- เพื่อสรุปและสังเคราะห์ชุดข้อมูล องค์ความรู้ และข้อเสนอเชิงนโยบายทั้ง ระดับพื้นที่และระดับชาติจากผลการดำเนินงานของคณะทำงาน 16 จังหวัดภายใต้โครงการจัดการศึกษาเซิงพื้นที่เพื่อ ลดความเหลื่อมลํ้าทางการศึกษา และ 25 จังหวัดภายใต้การดำเนินงานตามนโยบาย Thailand Zero Dropout เพื่อเห็นถึงภาพกรอบใหญ่ ของการทำงานและส่วนที่มีความแตกต่างของแต่ละพื้นที่
ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละบทบาทมีความสามารถและศักยภาพในการใช้ระบบ Thailand Zero Dropout รวมถึง Core team จังหวัด คณะกรรมการ CMS ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบลและผู้จัดการรายกรณี ของ 25 จังหวัดนำร่อง สามารถติดตาม ค้นหา และส่งต่อความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่นอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ ระบบการศึกษาหรือการเรียนรู้ ตามบทบาทหรือ ความรับผิดชอบของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้ดูแลรายกรณี (CM) ของ 25 จังหวัดนำร่องภายใต้นโยบาย Thailand Zero Dropout ที่สามารถ – ใช้ข้อมูล เพื่อสำรวจ และค้นหาข้อมูลเด็กและเยาวชนนอกระบบ รวมถึงสภาพปัญหาและความต้องการ – วางแผนการดูแลรายกรณี (Care Plan) – ให้คำแนะนำเด็ก เยาวชน และครอบครัว – รวบรวม สนับสนุน และจัดเตรียมข้อมูล เพื่อให้เกิด การส่งต่อการดูแลช่วยเหลือเด็กและเยาวชน – ส่งต่อเด็ก และเยาวชนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับความช่วยเหลือและเกิด CM ระดับแกนนำของจังหวัดอย่างน้อยจังหวัดละ 5 คน ทีมทักษะข้างต้น รวมถึงสามารถถ่ายทอดให้กับผู้ปฏิบัติการในพื้นที่
- เครือข่ายการทำงาน Thailand Zero Dropout ระดับภูมิภาค อย่างน้อย 4 ภูมิภาค ที่สามารถ ปฏิบัติการติดตาม ค้นหา และส่งต่อความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบ การศึกษาหรือการเรียนรู้ และสามารถยกระดับเป็นเครือข่ายพี่เลี้ยงให้กับเครื่อข่ายปฏิบัติการอื่น โดยมีการออกแบบโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของเครือข่ายเน้นไปที่ประสิทธิภาพในการทำงานตามบทบาทและความยั่งยืน ของเครือข่าย โดยจะเน้นไปที่เครือข่ายในระดับภูมิภาคที่มีหัวหน้าเครือข่าย คณะทำงานเฉพาะประเด็น เช่น ระบบการสำรวจ ระบบการทำแผนการช่วยเหลือ ตลอดจนเครือข่ายผู้จัดการระบบ ที่จะสามารถสนับสนุนการสร้างและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- รูปแบบหรือ หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ให้กับ 16 จังหวัด ภายใต้โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อทมล้ำทางการศึกษา ที่สนับสนุน การดำเนินงานตามกรอบการศึกษาเชิงพื้นที่และสอดคล้องกับช่องว่างของการทำงานเพื่อ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของแต่ละจังหวัด
- เกิดฐานข้อมูลเชิงบูรณาการระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนการจัดใช้ข้อมูลเพื่อ จัดทำแผนบูรณาการความร่วมมือ เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของ 16 จังหวัดภายใต้โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมลํ้าทางการศึกษา
- ผลการสังเคราะห์ข้อมูล/การถอดบทเรียนจากการจัดเวทีการประชุมรายงานผลการติดตามการดำเนินงานของ 25 จังหวัดนำร่องภายใต้นโยบาย Thailand Zero Dropout และ 16 จังหวัด ภายใต้โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
- ชุดข้อมูล องค์ความรู้ และข้อเสนอเชิงนโยบายทั้ง ระดับพื้นที่และระดับชาติ จากผลการดำเนินงานของ 25 จังหวัดนำร่องภายใต้นโยบาย Thailand Zero Dropout และ 16 จังหวัดภายใต้โครงการจัดการศึกษาเชิง พื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา