รศ. ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล ชี้ความสำคัญของการขับเคลื่อนแนวปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเริ่มนำร่องงานวิจัยร่วมกับ สสจ. อุบลราชธานี และศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี และขยายผลการดำเนินงานกับศูนย์อนามัยที่ 1-12 สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง และสำนักส่งเสริมสุขภาพ
.
กิจกรรมทางกายสำคัญอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด เพราะไม่เพียงแต่ทำให้มีหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี แต่ยังช่วยลดอาการไม่สุขสบายในขณะตั้งครรภ์ และช่วยเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายเพื่อเข้าสู่ระยะคลอด ทำให้การคลอดง่ายขึ้น ในระยะหลังคลอดยังส่งเสริมให้น้ำหนักตัวลดลงสู่ระดับปกติได้อย่างรวดเร็ว และในด้านจิตใจยังพบว่า สามารถลดภาวะซึมเศร้าในสัปดาห์แรกหลังคลอดทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีความพึงพอใจในภาพลักษณ์ของตนเองสูงขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อทารก โดยพบว่าความยาวของลำตัวและน้ำหนักทารกแรกเกิดจะมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีกิจกรรมทางกาย และมีพัฒนาที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
.
ข่าวจาก มติชนออนไลน์
อ่านข่าวต่อได้ที่ : https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4743795
เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567