ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2566 ทีมหนุนเสริมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ นำโดย คณาจารย์และวิทยากรทีมส่งยิ้ม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “Lesson Learned and Knowledge Management Advocacy“ โดยผู้เข้าร่วมกระบวนการประกอบด้วยคณะทำงานจาก กสศ. และคณะทำงานจังหวัดการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ทั้ง 12 จังหวัด ได้แก่ 1) จ.สมุทรสงคราม 2) จ.สุรินทร์ 3) จ.พระเยา 4) จ.ลำปาง 5) จ.ระยอง 6) จ.ขอนแก่น 7) จ.สงขลา จ.สุราษฎ์ธานี 9) จ.ปัตตานี 10) จ.แม่ฮ่องสอน 11) จ.พิษณุโลก และ 12) จ.สุโขทัย ณ โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ แต่ละจังหวัดมีตัวแทนของกลุ่มผู้คิดแผน/โครงการ, กลุ่มผู้ปฏิบัติการ, กลุ่มผู้ขับเคลื่อน ส่วนคณะทำงาน กสศ. ประกอบด้วยตัวแทนคณะอนุกรรมการ กสศ. ภาคีด้านการศึกษา และทีมสนับสนุนวิชาการ ซึ่งประเด็นหลักของการจัด workshop ในครั้งนี้ คือ ข้อเรียนรู้จากการทำงานในอดีตที่ผ่านมาทั้งในมุมของปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขความสำเร็จ/อุปสรรคฉุดรั้ง รวมถึงมุมมองความเป็นไปได้ และปัจจัยกำหนดการกระจายอำนาจด้านการจัดการการศึกษาระดับจังหวัด ตลอดจนการกำหนดบทบาทที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพของคณะทำงาน ABE ระดับจังหวัดในอนาคต เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปบทเรียนการทำงานตลอดปี 2565 ที่ผ่านมาและนำไปวิเคราะห์แนวทาง รูปแบบการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย รองประธานอนุกรรมการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เป็นประธานเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้
ภาพกิจกรรม
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=IPSRMAHIDOLUNIVERSITY&set=a.819771506613594