หัวหน้าโครงการ: ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา
นักวิจัย: ณปภัช สัจนวกุล , ณัฐนี สัจนวกุล , ประทีป นัยนา
ระยะเวลาดำเนินการ: กุมภาพันธ์-กันยายน 2565
วัตถุประสงค์
- เพื่อบันทึก รวบรวมเอกสาร และทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การดำเนินงานของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2510-2565
- เพื่อทำความเข้าใจพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผ่านบทบาทและการเคลื่อนไหวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและกลุ่มต่าง ๆ ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2510-2545 โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างความรู้ (creation of relevant knowledge) การเคลื่อนไหวทางสังคม (social movement) และการมีส่วนเกี่ยวข้องของภาคการเมือง (political involvement)
- เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดการดำเนินงานของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายใต้การบริหารจัดการโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2545-2565)
- เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ทัศนคติและมุมมองของประชาชนผู้รับบริการ และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขผู้ให้บริการ ที่มีต่อองค์กรและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในประเทศไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- เพื่อสร้างความเข้าใจของบทบาทการเคลื่อนไหวและกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อแนวคิดและวิวัฒนาการของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างระบบสุขภาพที่มีต่อมิติทางสังคมวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศไทยในแต่ละยุคสมัย
- เพื่อรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทนำในการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไว้อย่างถูกต้อง ครอบคลุม และเป็นระบบ
- เพื่อรวบรวมทัศนคติและมุมมองของประชาชนผู้รับบริการ และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขผู้ให้บริการ ที่มีต่อองค์กรและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในประเทศไทย
- เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นการส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย ที่จะนำไปสู่การต่อยอดและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไปในอนาคต
ผลผลิตโครงการ
- ได้รับชุดข้อมูลที่เป็นการค้นคว้าและรวบรวมจากหลักฐานในเชิงการบันทึกประวัติศาสตร์การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไว้อย่างเป็นระบบ ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทนำในการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมากว่าสองทศวรรษ
- สามารถเติมเต็มช่องว่างทางความรู้เกี่ยวกับบทบาทการเคลื่อนไหวและกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อแนวคิดและวิวัฒนาการของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างระบบสุขภาพที่มีต่อมิติทางสังคมวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศไทยในแต่ละยุคสมัย
- ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับทัศนคติและประวัติศาสตร์ของประชาชนผู้รับบริการ และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขผู้ให้บริการ ที่มีต่อองค์กรและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในประเทศไทย
- เพื่อชี้ให้เห็นโอกาสในการต่อยอดและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไปในอนาคต