โครงการศึกษาสถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทย

โครงการศึกษาสถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทย

หัวหน้าโครงการ: สิรินทร์ยา พูลเกิด
ที่ปรึกษาโครงการ: อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ , รศรินทร์ เกรย์ , อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์ , ศรัณยา สุจริตกุล
นักวิจัย: สาสินี เทพสุวรรณ์ , ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์

ระยะเวลาดำเนินการ: เมษายน 2565 – มีนาคม 2567

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทยในระดับประเทศและในพื้นที่ทำงานของ สสส.
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับภาคี สสส. ในระดับพื้นที่ให้สามารถทำการสำรวจสถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของคนในพื้นที่ทำงานของ สสส. ได้ด้วยตนเอง
  3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนใยบายในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารในระดับประชากรไทยและประชากรในพื้นที่ทำงานของ สสส.

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้เครื่องมือประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารในระดับประเทศและระดับพื้นที่ทำงาน สสส.
  2. ได้ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประขากรไทยในระดับประเทศและระดับพื้นที่ทำงาน สสส.
  3. ได้รายงานผลการวิเคราะห์สถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทยทั้งในระดับประเทศ และพื้นที่ทำงาน สสส. จำแนกตามลักษณะทางประชากรและสังคม (socio-demographic characteristics)
  4. ได้ชุดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากสถานการณ์การบริโภคอาหารของประชากรไทย เพื่อนำไปใช้ประกอบการขับเคลื่อนนโยบายด้านอาหารของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. ภาคีในพื้นที่ทำงาน สสส. ได้รับการสนับสนุนด้านเครื่องมือ กระบวนการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลข้อมูลเพื่อให้ภาคีสามารถนำข้อมูลในพื้นที่ไปใช้ในาารพัฒนาและขับเคลื่อนการทำงานของตนเองต่อไป

ผลผลิต

  1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ท้ังภาครัฐ วิชาการ และประชาสังคม ได้รับข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารในระดับประเทศ และระดับพื้นที่ทำงาน สสส. จากรายงานผลการวิเคราะห์ของโครงการฯ
  2. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ท้ังภาครัฐ วิชาการ และประชาสังคม นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการพัฒนาและปรับปรุงการส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อ สุขภาวะของประซากรไทย ทั้งในระดับประเทศ และระดับพื้นที่  สสส.
  3. ประชากรไทยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ มีความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารเพิ่ม มากขึ้น