โครงการ ยุวชนนิเวศน์ของประชากรเจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า

โครงการ ยุวชนนิเวศน์ของประชากรเจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า

ระยะเวลาดำเนินงาน: กันยายน 2561 – สิงหาคม 2562
สถานะ: กำลังดำเนินการ
หัวหน้าโครงการ: ภูเบศร์ สมุทรจักร


นักวิจัย: นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์, ประทีป นัยนา, จารุวรรณ จารุภูมิ, วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์

วัตถุประสงค์:

“มาร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่มีเป็นมิตรต่อการเติบโตและงอกงามของประชากรรุ่น ซีอัลฟ่าของเรา”

ประชากรเจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า เป็นประชากรที่เกิดระหว่าง พ.ศ.25472566 ซึ่งเป็นประชากรเจเนอเรชันล่าสุดของสังคมไทย โดยโครงการวิจัยนี้มุ่งประเด็นการศึกษาไปที่ความเชื่อมโยงของอิทธิพลจาก 3 พื้นที่ที่แวดล้อม และส่งผลต่อ พฤติกรรมและทัศนคติของ เจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า ได้แก่ บ้าน (พื้นที่ที่ 1) โรงเรียน (พื้นที่ที่ 2 ) และพื้นที่อื่นๆ นอกเหนือจากบ้านและโรงเรียน ทั้งที่อยู่ในพื้นที่ออฟไลน์ และออนไลน์ (พื้นที่ที่ 3) เจเนอเรชัน ซีอัลฟ่า นี้จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมในทศวรรษที่กำลังจะมาถึง ข้อค้นพบของโครงการนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนากระบวนการและนโยบายต่างๆ เพื่อการพัฒนาประชากรรุ่นล่าสุดนี้ ของสังคมไทยให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ

เกี่ยวกับการศึกษา

โครงการยุวชนนิเวศน์ของประชากรเจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า (Child Ecology of Thai Z-Alpha) เล็งเห็นความสำคัญของประชากรเจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า ซึ่งเป็นประชากรรุ่นล่าสุดของสังคมไทย ในการที่จะเติบโตเป็นผู้ขับเคลื่อนสังคมไทยในอนาคต เจเนอเรชัน ซี-อัลฟ เป็นกลุ่มประชากรที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2547–2556 โดยโครงการนี้มุ่งศึกษาสภาพแวดล้อม 3 พื้นที่ ได้แก่ 1) พื้นที่ “บ้าน” โดยมุ่งประเด็นไปที่การอบรมเลี้ยงดูในบ้าน และโครงสร้างครัวเรือน 2) พื้นที่ “โรงเรียน” มุ่งประเด็นไปที่การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนต่อการจัดการเรียนการสอน และ 3)  พื้นที่อื่นๆ นอกเหนือจากบ้านและโรงเรียน ทั้งที่เป็นพื้นที่จริง และพื้นที่เสมือน ของประชากรเจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า ใช้กรอบแนวคิดยุวชนนิเวศน์ (Child ecology) และ ทฤษฏีรุ่นประชากร (Theory of generations) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของพื้นที่ทั้ง 3 ดังกล่าว รวมทั้งอิทธิพลที่มีต่อทัศนคติ และพฤติกรรมของ เจเนอเรชันซี-อัลฟ่า

กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ เป็นกลุ่มเด็กอายุ 3-14 ปี 1,500 คน  ผู้ปกครอง 1,500 คน และครู 1,500 คน ใน 5 พื้นที่ คือ กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี โดยใช้โรงเรียนที่สุ่มได้เป็นจุดเริ่มการติดต่อไปยังเด็กนักเรียนโดยการสุ่มจากรายชื่อนักเรียนอีกชั้นหนึ่ง และเก็บข้อมูลจากนักเรียนที่สุ่มได้ รวมทั้งผู้ปกครอง และครูของนักเรียนที่สุ่มได้นั้น

คณะทำงานได้พัฒนาทีมเก็บข้อมูล ประกอบด้วยหัวหน้าภาคสนาม (Supervisors) และพนักงานสัมภาษณ์ (Interviewers) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในทั้ง 5 ภูมิภาค โดยประสานงานกับ NGOs ที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ เครื่องเก็บข้อมูลพัฒนาขึ้นโดยทีมนักประชากร นักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยา และนักจิตวิทยา ได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน หมายเลข COA No.2018/12-354 จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ศึกษาสภาพแวดล้อมของแระชากรเจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า (เกิดระหว่าง พ.ศ.2547-2556 ซึ่งมีอายุ 5-14 ปี ณ พ.ศ.2561) โดยจำแนกเป็น 3 พื้นที่ ประกอบด้วย (1) บ้าน ให้ข้อมูลโดย พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง (2)โรงเรียน ให้ข้อมูลโดยครู และ(3) สถานที่อื่นๆ
  2. สังเคราะห์ข้อค้นพบวัตถุประสงค์ในข้อที่ 1 เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ประชากรเจเนอเรชัน ซี-อัลฟา ของประเทศไทย ในบริบทต่างๆ
  3. นำเสนอแนวทางในการพัฒนา Intervention เพื่อการพัฒนายุวชนรุ่น ซี-อัลฟ่า

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สามารถชี้ประเด็นที่สำคัญต่อการเฝ้าระวัง และพัฒนา ประชากรเด็กเจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า
  2. ข้อมูลตั้งต้นในการพัฒนา Intervention ในการปรับ และพัฒนาสภาพแวดล้อมในการพัฒนาประชากรเด็กเจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า
  3. หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน ภาคประชาสังคม อลค์กรพัฒนาเอกชน ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อเด็ก

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สังคมไทย ทั้งในระดับนโยบาย หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน และสังคมในระดับบุคคล ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมทุกด้านของเด็กและเยาวชนให้มีความปลอดภัย
  2. ประชากรไทยเจเนอเรชัน ซี-อัลฟ่า เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีศักยภาพในการดูแล และทำนุบำรุงสังคมไทยในอนาคต

ระยะเวลา

กันยาย 2561 – สิงหาคม 2562

ทีมวิจัย

  • ผศ.ดร. ภูเบศร์ สมุทรจักร
  • ผศ.ดร.จงจิตต์ ฤทธิรงค์
  • ผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์
  • ดร.ธเนศ กิติศรีวรพันธุ์
  • น.ส.สุภรต์ จรัสสิทธิ์
  • นายนิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
  • น.ส.กมลชนก ชำสุวรรณ
  • น.ส.กัญญาพัชร สุทธิเกษม
  • น.ส.สุริยาพร จันทร์เจริญ
  • น.ส.พิมลพรรณ นิตย์นรา
  • น.ส.ประทีป นัยนา

แหล่งทุน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ติดต่อ

ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร (Bhubate.sam@mahidol.ac.th)

บรรยากาศงานภาพสนาม