เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 ศูนย์ทีแพค สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมสรุปข้อเรียนรู้และถอดบทเรียนเพื่อการนำองค์ความรู้ ประสบการณ์ และกลไกต้นแบบจากการดำเนินกิจกรรมตามแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-School Approach to Physical Activity: WoSPA) กับ 12 โรงเรียนต้นแบบ เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับการนำไปใช้เคลื่อนนโยบายเพิ่มกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในเด็กนักเรียนไทย และการขยายผลสู่การดำเนินงานทั่วประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชนไทย ตามแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-School Approach to Physical Activity: WoSPA) ผ่านระบบการประชุมออนไลน์
.
รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) ได้นำกระบวนการพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมกับผู้บริหารสถานศึกษา ครูกลุ่มสาระวิชา และครูพลศึกษา ถึงความเหมาะสมของการนำเครื่องมือไปใช้กับบริบทของโรงเรียนในประเทศไทยใน 8 มิติ ของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนที่สำคัญ โดย 12 โรงเรียนต้นแบบ WoSPA ได้แก่ โรงเรียนวัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร, โรงเรียนนิคมบางระกำ 4 (บางระกำชนูปถัมภ์) จังหวัดพิษณุโลก, โรงเรียนวัดปากพิงตะวันตก จังหวัดพิษณุโลก, โรงเรียนอนุบาลชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์, โรงเรียนวัดฤทธิ์ (คำหมื่นปทุมานุสสรณ์) จังหวัดสุโขทัย, โรงเรียนปิยมิตรวิทยา จังหวัดพะเยา, โรงเรียนวัดตาลเสี้ยน(สีมาราษฎร์) จังหวัดสระบุรี, โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง จังหวัดสุรินทร์, โรงเรียนบ้านหนองคูวิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ, โรงเรียนบ้านหนองประดู่ จังหวัดกาญจนบุรี,โรงเรียนศรีโพนทองวิทยา จังหวัดนครพนม และ โรงเรียนวัดไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทั้ง 12 โรงเรียน เป็นตัวแทนระดับประเทศจากทุกภูมิภาคของไทย ร่วมนำร่องการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน (พ.ศ. 2566-2573)
#IPSRRealWorldImpacts #IPSRvisibility
ภาพกิจกรรม
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=IPSRMAHIDOLUNIVERSITY&set=a.1079118734012202