การนำเสนอผลงานในเวที Young Researcher Session ในเวทีบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร “บูรณาการเครือข่ายระบบอาหารมุ่งสร้างการบริโภคที่สมดุล”

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567 บุคลากรสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 6 ท่าน ได้แก่ คุณกัญญาพัชร สุทธิเกษม, คุณณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์, คุณณัฐณิชา ลอยฟ้า, คุณกษมา ยาโกะ, คุณภัสสร มิ่งไธสง และ ดร.วีรภาคย์ ซำศิริพงษ์ โดยความร่วมมือระหว่าง (1) โครงการวิจัยระบบการจัดการอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ และมาตรการลดการเข้าถึงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของคนไทย (2) โครงการวิจัยด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางอาหารที่ดีต่อสุขภาพในประเทศไทย (3) โครงการสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานและเครื่องดื่มที่ได้ฉลากทางเลือกสุขภาพ เพื่อใช้ขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการอาหารเพื่อสุขภาวะ และ (4) โครงการศึกษาสถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทย ได้เข้าร่วมจัดบูธและนำเสนอผลงานในเวทีบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการเครือข่ายระบบอาหารมุ่งสร้างการบริโภคที่สมดุล” ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ. นนทบุรี รายละเอียดดังนี้

  • คุณกัญญาพัชร สุทธิเกษม นักปฏิบัติการวิจัย (ผู้ชำนาญการพิเศษ) จัดบูธนำเสนอข้อค้นพบจากโครงการวิเคราะห์มาตรการที่มีประสิทธิผลในการเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ในกลุ่มเยาวชนไทย ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ ดร. มนสิการ กาญจนะจิตรา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เป็นหัวหน้าโครงการ
  • คุณณัฐณิชา ลอยฟ้า นักวิจัยโครงการ นำเสนอข้อค้นพบจากโครงการศึกษาสถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทย ในหัวข้อ “อิทธิพลของความรอบรู้ด้านอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้เพียงพอของประชากรไทย” ในเวที Young Researcher Session
  • คุณกษมา ยาโกะ นักวิจัยโครงการ นำเสนอข้อค้นพบจากโครงการสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานและเครื่องดื่มที่ได้ฉลากทางเลือกสุขภาพ เพื่อใช้ขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการอาหารเพื่อสุขภาวะ ในหัวข้อ “อิทธิพลของลักษณะทางประชากรและสิ่งแวดล้อมทางอาหารต่อการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของประชากรไทย ปี 2566” ในเวที Young Researcher Session
  • ดร. วีรภาคย์ ซำศิริพงษ์ หัวหน้ากิจกรรม การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำมาตรฐานกลางการผลิตและให้บริการอาหารสตรีทฟู้ดที่ดีต่อสุขภาพและการนำมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติในประเทศไทย นำเสนอในหัวข้อ “นิยามใหม่ Street Food ของประเทศไทยเพื่อการดำเนินการอย่างเป็นเอกภาพ” ในเวที Young Researcher Session

เวทีดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) นำเสนอและสื่อสารประเด็นและนโยบายด้านอาหารที่ สสส. ต้องการขับเคลื่อนสังคมสู่สาธารณะ (2) เป็นเวทีกลางสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีแผนอาหารในการนำเสนอและเผยแพร่ผลงาน ทั้งในเชิงพื้นที่ปฏิบัติการ เชิงประเด็น นวัตกรรมองค์ความรู้สู่สาธารณะเพื่อสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง และ (3) เชื่อมโยงการทำงานประเด็นอาหารระหว่างแผนอาหารเพื่อสุขภาวะกับสำนักต่าง ๆ ใน สสส. ภาคีเครือข่าย หรือองค์กรหน่วยงานอื่น ๆ ที่ทำงานประเด็นอาหาร

ภาพกิจกรรม

https://www.facebook.com/media/set?vanity=IPSRMAHIDOLUNIVERSITY&set=a.1016193936971349