ทีมวิจัย SUNRISE Thailand คว้ารางวัล “Planning Award: Most prepared before data collection” จากเวทีประชุมเครือข่าย SUNRISE

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 ในการประชุมออนไลน์ “SUNRISE 2024 Annual General Meeting” จัดโดยภูมิภาคแอฟริกา ทีมวิจัย SUNRISE Thailand ได้รับการประกาศให้ได้รับรางวัล “Planning Award: Most prepared before data collection” ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่คณะนักวิจัยที่มีการเตรียมความพร้อมอย่างดีเยี่ยมก่อนการเก็บข้อมูล #IPSRRealWorldImpacts #IPSRvisibility

โดยโครงการ SUNRISE มุ่งเน้นสนับสนุนการทำงานด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและเครื่องมือด้านการวัดและติดตามผลเชิงพฤติกรรม มุ่งยกระดับสติปัญญา พัฒนาการ และการเจริญเติบโต สู่เป้าหมายการส่งเสริมพัฒนาการที่สมวัยของเด็กปฐมวัยผ่านการกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และขยายเครือข่ายทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชน โดยปัจจุบันเครือข่าย มีสมาชิกถึง 63 ประเทศจากทุกทวีปทั่วโลก สำหรับทีมวิจัย SUNRISE Thailand ประกอบด้วยความร่วมมือระหว่าง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีคณะทำงานหลักดังนี้:

#คณะที่ปรึกษา

– Professor Anthony Okely (Distinguished Professor, School of Health and Society, University of Wollongong, Australia)

– นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ (รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี)

– ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม (รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

– นพ.ธีระพงษ์ แก้วภมร (นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี)

– นายสำเนียง สิมมาวัน (ท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี)

– นางสาวนิรมล ราศรี (ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.)

– รศ. ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล)

#ทีมวิชาการ

– รศ. ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา (ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย)

– ผศ. ดร.ดิยาฮ์ อนันตาเลีย วิดยาสตาริ (หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาเครือข่ายวิชาการ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย)

– ดร.ทับทิม ศรีวิไล (นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย)

– ดร.ปิยกฤตา แก้วพิกุล (กลุ่มงานพัฒนาเครือข่ายวิชาการ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย)

#ทีมฐานข้อมูลและอุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหว

– นายดนุสรณ์ โพธารินทร์ (หัวหน้ากลุ่มงานงานพัฒนาฐานข้อมูลและการพยากรณ์ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย)

– นางสาวชุติมา อยู่สมบูรณ์ (หัวหน้ากลุ่มงานบริหารและสนับสนุน ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย)

– นายกันติศ ภูมิพีระพัฒน์ (ผู้ควบคุมงานสนาม)

– นายพุฒิพัฒน์ อัฌชาวรพงศ์ (ผู้ควบคุมงานสนาม)

#ทีมวางแผนและจัดเตรียมสนาม

– นายชัยสิทธิ์ เรืองโรจน์ (หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี)

– นายปัญญา ชูเลิศ (หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนา ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย)

– ดร.รุ่งรัตน์ พละไกร (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี)

– นางสาวรัตนา ด้วยดี (กลุ่มงานวิเคราะห์สถานการณ์และนโยบาย ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย)

– นางมณีญาภา ถาศักดิ์ (นักสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี)

ความสำเร็จครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสอันดีสำหรับนักวิจัยไทยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้จากเครือข่ายวิจัยทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเป็นเลิศของการวิจัยด้านกิจกรรมทางกายของประเทศไทยในระดับนานาชาติ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกาย นำไปสู่การพัฒนากลยุทธ์ต่าง ๆ รวมถึงการสร้างแนวคิดเพื่อความร่วมมือในอนาคต อันจะช่วยขับเคลื่อนโครงการวิจัย SUNRISE และการพัฒนาด้านกิจกรรมทางกายในประเทศไทยให้ก้าวหน้าต่อไป

#เด็กปฐมวัยไทย #SUNRISE #อุบลราชธานี #PhysicalActivity #กิจกรรมทางกาย #ทีแพค #สสส