เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดเวทีชี้แจงแนวทางการเข้าร่วมโรงเรียนต้นแบบผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคุณนิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5) เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม พร้อมกับชี้แจงที่มา ความสำคัญ สถานการณ์กิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน และเป้าหมายของการดำเนินงานในครั้งนี้ พร้อมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเด็กและเยาวชนประเทศไทย กับผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งหมด 128 โรงเรียน
ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) พร้อมกับคณะนักวิจัย ยังได้ชี้แนะถึงแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม พร้อมกับขั้นตอนการดำเนินงาน ประโยชน์ที่โรงเรียนจะได้รับและผลลัพธ์ของการดำเนินงานครั้งนี้ด้วย
การประชุมดังกล่าว เป็นการชี้แจงและสร้างความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมตามแนวคิด การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-School Approach to Physical Activity) ทั้ง 8 มิติ ให้แก่โรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมทางกายในโรงเรียน และการเป็นโรงเรียนต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (WoSPA) ทั้งยังเป็นการร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน (พ.ศ. 2566 – 2573) อีกด้วย
ภาพกิจกรรม
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=IPSRMAHIDOLUNIVERSITY&set=a.915039933753417
#wholeofschoolapproach #physicalactivity #PhysicalLiteracy #เด็ก #โรงเรียน #กิจกรรมทางกาย #TPAK #ทีแพค #สสส