งานเสวนาวิชาการและนโยบายด้านกิจกรรมทางกาย (PA Forum) EP.1

งานเสวนาวิชาการและนโยบายด้านกิจกรรมทางกาย (PA Forum) EP.1-พัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่ทุกคนมีส่วนร่วม: Active Environment for All ร่วมจัดโดยศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
.
วันที่ 28 กันยายน 2566 ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยภาคีด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งในประเทศไทย ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้ร่วมมือกันจัดงานวิชาการและนโยบายด้านกิจกรรมทางกาย PA Forum EP.1 – Active Environment for All การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่ทุกคนมีส่วนร่วม นำโดย คุณนิรมล ราศรี (รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5)) กล่าวถึงการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้น คือการสร้างสภาพแวดล้อมที่่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของแผนปฏิบัติการระดับโลกเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ปี พ.ศ. 2561-2573 หรือ GAPPA โดยมีนายแพทย์ สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย (รองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)) ได้กล่าวถึงการนิยามของพื้นที่สุขภาวะในด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทยเราให้มีความพร้อมสำหรับการขับเคลื่อนงานตามแผนงานที่วางไว้ พร้อมด้วยคุณประภาศรี บุญวิเศษ (ที่ปรึกษากรรมการบริหารแผนคณะที่ 5 สสส.) กล่าวแสดงความยินดี กับภาคีเครือข่าย สสส. ด้านพื้นที่สุขภาวะ และได้รับเกียรติจาก ดร.นายแพทย์ไพโรจน์ เสาน่วม (ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะของ สสส. จากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคตเพื่อวิถีชีวิตสุขภาวะอย่างยั่งยืน”
.
ภายในงานเสวนาวิชาการและนโยบายด้านกิจกรรมทางกายในครั้งนี้ มีการอภิปรายโดยนักวิชาการ นักนโยบาย และภาคีเครือข่ายการทำงานพื้นที่สุขภาวะ และ สสส. ในประเด็นการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่ทุกคนมีส่วนร่วมใน 3 Session โดยมี รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา (Healthy Space Forum, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), ดร.นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข (รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข), อาจารย์ประยงค์ โพธิ์ศรีประเสริฐ (สถาบันอาศรมศิลป์), ผศ.ดร.ภก. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ (สถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และ รศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล) ใน Session ที่ 1 ความสัมพันธ์ของพื้นที่สุขภาวะและวิถีสุขภาวะของคนทุกคน
.
ในช่วงบ่ายของการเสวนา ได้รับเกียรติจาก ผศ.ปาณิทัต รัตนวิจิตร (โครงการ we!park), คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ (ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC), คุณจุฤทธิ์ กังวานภูมิ (บริษัท ปั้นเมือง จำกัด), คุณอัญชัญ แกมเชย (อรุณอินสยาม), รศ.ดร.สิกิต ดวิอนอนโต อริฟวิโดโด (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์), คุณอิสริยา ปุณโณปถัมภ์ (สถาบันอาศรมศิลป์) และ ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนใน Session ที่ 2 ก่อนจะเป็นพื้นที่สุขภาวะ: จุดเริ่มต้นและกระบวนการพัฒนา และใน Session ที่ 3 มหานครกรุงเทพกับโมเดลสวน 15 นาที ได้รับเกียรติจาก คุณจักกพันธุ์ ผิวงาม (รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร), คุณยศพล บุญสม (โครงการ we!park), ผศ.ปาณิทัต รัตนวิจิตร (โครงการ we!park) และ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล (ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)) ได้ร่วมเสวนาในครั้งนี้

.
ภายหลังจากงานเสวนาดังกล่าว รศ.ดร. ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) พร้อมด้วยคุณนิรมล ราศรี (รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5)), รศ.ดร. เพชร รอดอารีย์ (เครือข่ายคนไทยไร้พุง) และนพ. ภัทรภณ อติเมธิน (โรงพยาบาลสมิติเวช) ได้มีการเปิดตัวคู่มือการจัดกิจกรรม WalkShop: เครื่องมือส่งเสริมการจัด Healthy Active Meeting” อันจะเป็นชุดเครื่องมือสำหรับหน่วยงาน องค์กร สำหรับการจัดประชุมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ “การเดินประชุม” ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและหยิบจับเอาความคิด หรือไอเดียใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินพูดคุย สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างการประชุม ทั้งนี้ยังได้มีการจัดกิจกรรม “WalkShop” ภายในศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ประยงค์ โพธิ์ศรีประเสริฐ (สถาบันอาศรมศิลป์) เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “สวนเบญจกิติ” และคุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ (ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ) เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “สะพานเขียว” ซึ่งเป็นแหล่งพื้นที่สุขภาวะและพื้นที่สีเขียวที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้ใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนไอเดียร่วมกัน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มเวลาการมีกิจกรรมทางกายเพื่อการมีสุขภาพที่ดี งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้อง MR 208 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ และผ่านระบบออนไลน์

#PAFORUM #EnvironmentForAll #ActiveEnvironment #WalkShop #สสส #TPAK #PhysicalActivity #PhysicalActivityForum2023 #Integrating #knowledge #Regeneration #กิจกรรมทางกาย #บูรณาการองค์ความรู้ #พื้นที่สุขภาวะ #IntegratingknowledgeforPhysicalActivityRegeneration

ภาพกิจกรรม

https://www.facebook.com/media/set?vanity=IPSRMAHIDOLUNIVERSITY&set=a.789506709640074