เวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ การวางแผนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

ระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2566 ทีมหนุนเสริมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ (ทีมส่งยิ้ม) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ได้บรรยายแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในหัวข้อ “Game Changers in Education ทิศทางของการศึกษาไทยในอนาคต” ผ่านกิจกรรมการ Workshop มองอนาคตสู่การกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน เพื่อสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากรูปธรรมการดำเนินงานการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาของกลไกการจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ ชวนมองอนาคต “สานฝัน” ออกแบบการศึกษาของเด็กและเยาวชน สู่การ “สร้างแผน” กำหนดแผนจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานระยะ 1 ปี พร้อมด้วยอาจารย์คณะทำงานทีมส่งยิ้มภูมิภาค และคณะนักวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นทีมวิทยากรนำคุยด้านกระบวนการกลุ่มชวนฝัน และกำหนดเป้าหมายการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทยในอนาคต โดยข้อมูลจากเวทีการแลกเปลี่ยนดังกล่าวฯ เป็นหนึ่งในการทบทวนทุนทรัพยากรในพื้นที่ต้นแบบทั้ง 12 จังหวัด ได้แก่ 1) จ.สมุทรสงคราม 2) จ.สุรินทร์ 3) จ.พระเยา 4) จ.ลำปาง 5) จ.ระยอง 6) จ.ขอนแก่น 7) จ.สงขลา 8)จ.สุราษฎ์ธานี 9) จ.ปัตตานี 10) จ.แม่ฮ่องสอน 11) จ.พิษณุโลก และ 12) จ.สุโขทัย เพื่อนำไปสู่กระบวนการการทำแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ โดยได้รบุเกียรติจาก ดร.กฤษณพงษ์ กีรติกร ประธานอนุกรรมการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เป็นประธานเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

#กสศ. #การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ #ABE

ภาพกิจกรรม

https://www.facebook.com/media/set/?vanity=IPSRMAHIDOLUNIVERSITY&set=a.755818343008911