วันที่ 30 มิถุนายน 2566 สถาบัันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 “ประชากรและสังคม 2566” | หลากมิติ ในหนึ่งชั่วชีวิต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงานณ และได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดการประชุม ณ ห้องพระศิวะ ชั้น 3 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
ปาฐกถาพิเศษ “สวัสดิภาพตลอดช่วงชีวิตของคนไทย”
โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ (ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล)
ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า ชีวิตคนไทยมีความเสี่ยงมาก จึงต้องบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อป้องกันการตาย จากบทเรียนที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด ใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1) การลดความเสี่ยง (risk reduction) 2) การโอนย้ายความเสี่ยง (risk shifting) และ 3) การกระจายความเสี่ยง (risk spreading) เมื่อฤกษ์เกิด กำหนดได้ แต่ตายดี ไม่ดี ไม่มีฤกษ์ และนี่คือสวัสดิภาพสำคัญของคนไทยที่ต้องป้องกันการตายจากเรื่องที่ควรป้องกันได้
เสวนาโต๊ะกลม หัวข้อ “หลากมิติ ในมุมมองเส้นทางชีวิต”
ร่วมพูดคุยโดย
คุณสุภัทรา นาคะผิว – มุมมองเส้นทางชีวิตในแง่สิทธิมนุษยชน
ศ.ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ – มุมมองเส้นทางชีวิตทางเศรษฐศาสตร์
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ – มุมมองเส้นทางชีวิตทางการแพทย์และสาธารณสุข
รศ.ดร.อารี จำปากลาย – การวิจัยและพัฒนาโดยใช้มุมมองเส้นทางชีวิต
ดำเนินการอภิปรายโดย : รศ.ดร.มนสิการ กาญจนะจิตรา
ครอบครัว & การเลี้ยงดู: ความสัมพันธ์ในบ้านที่ส่งผลชั่วชีวิต
ร่วมพูดคุยโดย
ศ.เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ – เส้นทางชีวิตครอบครัวที่พลาด กับการเลี้ยงดูบุตรหลาน
Lect. Dr. Dyah Anantalia Widyastari – การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นผู้หญิงเต็มวัย: ประสบการณ์จากสตรีอินโดนีเซียที่แต่งงานและมีลูกเมื่ออายุยังน้อย (Transitioning Into Womanhood: Indonesian Women’s Experience on Intergenerational Early Marriage)
รศ.ดร.อารี จำปากลาย – สุขภาพจิตวัยเด็กคงอยู่ถึงวัยรุ่นหรือไม่: การวิเคราะห์ข้อมูลระยะยาวในบริบทที่การย้ายถิ่นของพ่อแม่เป็นเรื่องปกติ (Does the psychological well-being in childhood last to adolescence? A longitudinal data analysis in the context where parental migration is common)
รศ.ดร.อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์ – ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงทางกายต่อเด็กอย่างต่อเนื่อง
ผู้ดำเนินการอภิปราย: คุณศิริรัฐ ชุณหศาสตร์ องค์การยูนิเซฟ (UNICEF)
พฤติกรรมเชิงวิถีชีวิต: เส้นทางสู่สุขภาพดีชั่วชีวิต
ผศ.ดร.สิรินทร์ยา พูลเกิด – อิทธิพลของความเป็นเมืองและประสบการณ์ชีวิตในการรับรู้การรณรงค์สื่อสารมวลชนต่อการกินผักและผลไม้เพียงพอของประชากรไทย
ผศ.ดร.พจนา หันจาสิทธิ์ – ภาษีความหวาน: การเก็บภาษีเพื่อสุขภาพของประชากรไทย
คุณสิทธิชาติ สมตา – อัตรากิจกรรมทางกายรายอายุและเพศของประชากรไทย: การวิเคราะห์ช่วงชีวิต
ผู้ดำเนินการอภิปราย: ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
รูปแบบการอยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย
รศ.ดร.ศุทธิดา ชวนวัน – รูปแบบการอยู่อาศัยในแต่ละช่วงชีวิตของประชากรไทย
รศ.ดร.ธีรนงค์ สกุลศรี – การเปลี่ยนผ่านเส้นทางชีวิตของผู้สูงวัยสู่ที่อยู่อาศัยเชิงสถาบันด้วยแนวคิดสูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม (Ageing in Place)
Lect. Dr.Truc Ngoc Hoang Dang – ประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตและผลกระทบในช่วงท้ายของชีวิต: การเปิดเผยปมความขัดแย้งทางสงคราม และการทำร้ายคู่สมรสของผู้สูงอายุเวียดนาม (Adverse life experiences and Consequences on later life: Exposure to armed conflict, war Violence and spousal abuse among Vietnamese older persons)
อ.ดร.สพญ.สรัญญา สุจริตพงศ์ – การรับรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศภายนอกผ่านมุมมองเส้นทางชีวิต (Perceptions of outdoor air pollution from a life course perspective)
ผู้ดำเนินการอภิปราย: ดร.ณปภัช สัจนวกุล ׀ เจ้าหน้าที่ด้านการสังคม แผนกการเปลี่ยนผ่านทางประชากรอย่างยั่งยืน กองพัฒนาสังคม คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP)