การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการข้อมูลและพัฒนาข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด สำหรับการขับเคลื่อนงานด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยทีมหนุนเสริมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดควงามเหลื่อมล้ำ (ทีมส่งยิ้ม) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ.
เมื่อวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมบายาสิตา แอท เคเคยู โครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ปี 2565 จังหวัดขอนแก่น โดยทีมหนุนเสริมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดควงามเหลื่อมล้ำ (ทีมส่งยิ้ม) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. ร่วมกับคณะทำงานการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ปี 2565 ขอนแก่น หรือ ABE ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งสี่เขต องค์การบริหารส่วนจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มูลนิธิไตรสิกขา บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ศูนย์การศึกษาพิเศษ (เขตการศึกษา 9)
โดย รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา และคณะทำงาน ประกอบด้วย ดร.วิตติกา ทางชั้น ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและบัณฑิตศึกษา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทีมหนุนเสริมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดควงามเหลื่อมล้ำ (ทีมส่งยิ้ม) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิจัย ได้แก่ นายปัญญา ชูเลิศ, นางสาวชุติมา อยู่สมบูรณ์, นายณรากร วงษ์สิงห์, นายดนุสรณ์ โพธารินทร์, นางสาวณัฐพร นิลวัตถา, นางสาวทิพย์ภาพร วังคีรี, นางสาวมัลลิกา ชนะภัย และนางสาวรัตนา ด้วยดี ได้เป็นวิทยากรนำคุยด้วยกระบวนการกลุ่ม รูปแบบ World Café ในการร่วมกันรวบรวมฐานทรัพยากรที่ทุกหน่วยงานมีอยู่แล้ว มาจัดระบบเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน โดยมีการร่วมมือกันค้นหาต้นทุนและทรัพยากรของจังหวัดขอนแก่น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านข้อมูล /สารสนเทศ 2. ด้านการดำเนินงาน (งบประมาณ คน หน่วยงาน องค์กร) 3. ด้านองค์ความรู้/ชุดความรู้/นวัตกรรม และ 4. ด้านนโยบาย /ทุนทางสังคม เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนบริหารจัดการและการตัดสินใจเพื่อขับเคลื่อนงาน ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งในกระบวนการทั้งสองวันนี้เพื่อค้นหาต้นทุนในทุก ๆ มิติที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ซึ่งจะทำให้เห็นโอกาส รวมถึงเหตุและผลของปัญหาที่เป็นข้อมูลสำคัญต่อการขับเคลื่อนงานการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ผศ.ดร.ไพศาล สุวรรณน้อย อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กล่าวถึงกิจกรรมในวันนี้ว่า เป็นการสกัดความรู้จากผู้มีความรู้ มีประสบการณ์ตรงด้านการศึกษา รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนของจังหวัด
ท้ายที่สุด จากกระบวนการดังกล่าว ได้มีการชวนคิด ชวนคุยถึงแหล่งทรัพยากรและต้นทุน ให้เกิดการเชื่อมร้อยในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในจังหวัด รวมทั้งใช้ฐานข้อมูลภายในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจากการระดมข้อมูลตอนนี้มีมากถึง 129 ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน ในการนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำของเด็กและเยาวชน ซึ่งประเด็นเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเป็นต้องรู้และเข้าถึง เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของพื้นที่จังหวัดขอนแก่น