ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้และวิจัยกิจกรรมทางกาย สนับสนุนโดย สำนักเลขานุการกรม CCS-NCDs กรมควบคุมโรค กองกิจกรรมทางกาย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมมือเพื่อจัดการเสวนาวิชาการ เครือข่ายนักวิชาการ/ นักวิจัย ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย ในประเด็นเจาะลึกแหล่งทุน สนับสนุนวิจัยและนวัตกรรม ตะลุยโจทย์ใหม่ สู่ความท้าทายด้านกิจกรรมทางกาย เมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting เวลา 08.30 – 12.00 น.
โดยได้รับเกียรติจาก นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เลขานุการคณะกรรมการบริหารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย, ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้และวิจัยกิจกรรมทางกาย, รศ.ดร.อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ รองผู้อำนวยการ สกสว., นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผอ.สวรส. และอาจารย์สุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผอ.กองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 วช. ในการเป็นผู้เชี่ยวชาญบรรยายและพูดคุยเสวนา
และดำเนินรายการโดย คุณรุ่งรัตน์ พละไกร หัวหน้ากลุ่มงานวิเคราะห์สถานการณ์และนโยบาย และคุณปัญญา ชูเลิศ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนา ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค)
นอกจากนั้น ยังมีกระบวนการเสวนาให้ห้องย่อย 6 กลุ่ม บนการพูดคุย 6 ประเด็นด้านกิจกรรมทางกายตามกลุ่มประชากร ได้แก่
กลุ่มที่ 1: เด็กและเยาวชน วิทยากรนำคุยคือ คุณปัญญา ชูเลิศ
กลุ่มที่ 2 : วัยแรงงาน วิทยากรนำคุยคือ คุณอภิชาติ แสงสว่าง, คุณดนุสรณ์ โพธารินทร์
กลุ่มที่ 3 : ผู้สูงอายุ วิทยากรนำคุยคือ คุณสิทธิชาติ สมตา
กลุ่มที่ 4 : กลุ่มเฉพาะ (หญิงตั้งครรภ์, NCDs, พิการ) วิทยากรนำคุยคือ คุณรุ่งรัตน์ พละไกร
กลุ่มที่ 5 : สิ่งแวดล้อมและพื้นที่สุขภาวะ วิทยากรนำคุยคือ คุณนฤมล เหมะธุลิน, คุณอับดุล อุ่นอำไพ
กลุ่มที่ 6 : พัฒนานวัตกรรม วิทยากรนำคุยคือ คุณนันทวัน ป้อมค่าย, คุณกรกนก พงษ์ประดิษฐ์ ซึ่งการจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมทั้งหมดกว่า 61 ท่าน
ทั้งนี้เพื่อหารือหัวข้อวิจัยบนความท้าทายใหม่ ๆ เจาะลึกประเด็นการหาแหล่งทุนเพื่อการทำวิจัย นำไปสู่การสร้างงานวิจัยให้เกิดการใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจวางแผนเชิงนโยบาย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของการใช้ความรู้และการพัฒนางานวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมต่อไป
#TPAK #สสส #IPSR #Mahidol #physicalactivity #กรมอนามัย #กรมควบคุมโรค #ccsncds #กองกิจกรรมทางกาย #กระทรวงสาธารณะสุข