เตรียมก่อนแก่รับสังคมสูงวัย หลายปัจจัยเสี่ยงไทยต้องปรับ

ข่าว “สกู๊ปแนวหน้า : เตรียมก่อนแก่รับสังคมสูงวัย หลายปัจจัยเสี่ยงไทยต้องปรับ” จากเวทีนำเสนอผลงานวิชาการ “ความคาดหวัง การเตรียมความพร้อม และการเข้าถึงบริการทางสังคม เพื่อการสูงวัยอย่างมีพลัง” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 ณ รร.แกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพฯ ฟอร์จูน ร่วมจัดโดย มส.ผส.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

รศ.ดร.จงจิตต์ฤทธิรงค์ นำเสนอในหัวข้อ “ความคาดหวังการวางแผน และการเตรียมตัวของประชากรวัยทำงานต่างรุ่นอายุ และรูปแบบการอยู่อาศัยต่อชีวิตในวัยสูงอายุ” มีข้อค้นพบที่น่าสนใจหลายประการ อาทิ 1.การตระหนักถึงสังคมสูงอายุในประเทศไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28 หรือ 1 ใน 4 ยังไม่ตระหนักถึงสถานการณ์สังคมสูงวัย ร้อยละ 72 ทราบว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว ร้อยละ 35 ทราบว่า คนไทยจะมีชีวิตยืนยาวตั้งแต่อายุ 90-100 ปี และ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 มองว่า อายุเริ่มต้นของผู้สูงอายุควรเป็น 65 ปีขึ้นไป 2.ความคาดหวังในการทำงานเพื่อสร้างรายได้ พบความแตกต่างกัน ในขณะที่คน Generation X ต้องการทำงานต่อหลังอายุ 60 ปี แต่คน Generation Z ต้องการหยุดทำงานก่อนอายุ 60 ปี

รศ.ดร.ศุทธิดา ชวนวัน นำเสนอหัวข้อ “การเข้าถึงระบบบริการทางสังคมของประชากรในครัวเรือนก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุที่มีรูปแบบของการอยู่อาศัยต่างกัน เพื่อนำไปสู่แนวทางการสนับสนุนการบริการที่เหมาะสม” ซึ่งพบว่า “จำนวนประชากรที่อยู่คนเดียว หรือมีแนวโน้มอยู่คนเดียวเพิ่มสูงขึ้น” อย่างไรก็ตาม สังคมชนบท ผู้สูงอายุมักไม่ได้อยู่คนเดียวจริงๆ เพราะยังมีลูกหลานญาติพี่น้องอยู่ใกล้ๆ ในละแวกบ้าน….

ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์แนวหน้า เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2565

https://www.naewna.com/likesara/661210