Download |
ประชากรคาดประมาณ ณ กลางปี 2557 (1 กรกฎาคม) |
วัตถุประสงค์ |
สถาบันวิจัยประชากรและสังคมจัดพิมพ์ "สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล" ในเดือนมกราคมของทุกปี ทั้งฉบับภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ดัชนีทางประชากร โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ล่าสุด คาดประมาณประชากรของแต่ละปี ดังนั้น จึงไม่ควรนำตัวเลขคาดประมาณจาก "สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล" ปีต่างๆ ไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวโน้มทางประชากร |
แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการคาดประมาณ |
รายงานการสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ. 2552 สำนักงานสถิติแห่งชาติ |
1.จำนวนประชากรทั้งประเทศ
|
64,871,000
|
|
2. จำนวนประชากรแยกตามเพศ
|
||
ชาย
หญิง |
31,542,000
33,329,000 |
|
3. จำนวนประชากรแยกตามเขตที่อยู่อาศัย
|
||
เขตเมือง (ประชากรที่อยู่ในเขตเทศบาลทุกประเภท)
เขตชนบท (ประชากรที่อยู่นอกเขตเมือง) |
30,325,000
34,546,000 |
|
4. จำนวนประชากรแยกตามภาค
|
||
กรุงเทพมหานคร
ภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพ) ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ |
7,980,000
18,142,000 11,313,000 18,666,000 8,770,000 |
|
5. จำนวนประชากรแยกตามกลุ่มอายุ
|
||
ประชากรวัยเด็ก (ต่ำกว่า 15 ปี)
ประชากรวัยแรงงาน (15 – 59 ปี) ประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ประชากรสูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) ประชากรก่อนวัยเรียน (0 – 5 ปี) ประชากรวัยเรียน (6 – 21 ปี) สตรีวัยเจริญพันธุ์ (15 – 49 ปี) |
11,954,000
42,989,000 9,928,000 6,647,000 4,487,000 13,875,000 17,263,000 |
|
6. อัตราชีพ
|
||
อัตราเกิด (ต่อประชากรพันคน)
อัตราตาย (ต่อประชากรพันคน) อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ (ร้อยละ) อัตราตายทารก (ต่อการเกิดมีชีพพันราย) อัตราตายเด็กต่ำกว่า 5 ปี (ต่อการเกิดมีชีพพันราย) |
11.5
7.9 0.4 10.9 17.9 |
|
7. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าบุคคลที่เกิดมาแล้วจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกกี่ปี)
|
||
ชาย
หญิง |
71.3
78.2 |
|
8. อายุคาดเฉลี่ยที่อายุ 60 ปี (จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าผู้ที่มีอายุ 60 ปี จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกกี่ปี)
|
||
ชาย
หญิง |
20.0
23.2 |
|
9. อายุคาดเฉลี่ยที่อายุ 65 ปี (จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าผู้ที่มีอายุ 65 ปี จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกกี่ปี)
|
||
ชาย
หญิง |
16.4
19.2 |
|
10. อัตราเจริญพันธุ์รวม (จำนวนบุตรโดยเฉลี่ยที่สตรีคนหนึ่งจะมีตลอดวัยเจริญพันธุ์ของตน)
|
1.6
|
|
11. อัตราคุมกำเนิด (ร้อยละ)
|
79.6
|
|
12. ดัชนีการสูงวัย พ.ศ. 2557
|
||
ทั่วราชอาณาจักร
จังหวัดที่มีดัชนีต่ำสุด : นราธิวาส จังหวัดที่มีดัชนีสูงสุด : ลำปาง |
83
40 144 |
คำอธิบายข้อมูล |
อัตราเกิด (ต่อประชากรพันคน) : จำนวนเกิดทั้งหมดในปีหนึ่ง หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปีนั้นคูณด้วย 1,000
อัตราตาย (ต่อประชากรพันคน) : จำนวนตายทั้งหมดในปีหนึ่ง หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปีนั้นคูณด้วย 1,000 อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ (ร้อยละ) : จำนวนเกิดลบด้วยจำนวนตาย หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปีคูณด้วย 100 อัตราตายทารก (ต่อเด็กเกิดมีชีพพันราย) : จำนวนทารกตายเมื่ออายุต่ำกว่า 1 ขวบในรอบหนึ่งปี หารด้วยจำนวนการเกิดมีชีพทั้งหมด ในปีนั้น คูณด้วย 1,000 อัตราตายเด็กต่ำกว่า 5 ปี (ต่อเด็กเกิดมีชีพพันราย) : จำนวนเด็กตายเมื่ออายุต่ำกว่า 5 ปีในรอบหนึ่งปีหารด้วยจำนวนการเกิดมีชีพทั้งหมด ในปีนั้น คูณด้วย 1,000 อัตราเจริญพันธุ์รวม : จำนวนบุตรโดยเฉลี่ยที่สตรีคนหนึ่งจะมีตลอดวัยเจริญพันธุ์ของตน คำนวณได้จากการรวมอัตราเกิดรายอายุ ของสตรีตลอดวัยเจริญพันธุ์ อัตราคุมกำเนิด : ร้อยละของสตรีอายุ 15 – 49 ปี ที่แต่งงานแล้วและยังอยู่กินกับสามีที่กำลังใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ ดัชนีการสูงวัย : อัตราส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปต่อประชากรอายุต่ำกว่า 15 ปี 100 คน |