การนำกระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นมาใช้ในประเทศไทย

Abstract

การสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่สำคัญของพรรคการเมือง เพราะเป็นกระบวนการที่บ่งบอกถึงหลักการของความเป็นประชาธิปไตยในเชิงปฏิบัติการจริงในกระบวนการเลือกตั้ง ที่ส่งผลตั้งแต่ในระดับองค์กรพรรคการเมือง จนไปถึงการแข่งขันในการเลือกตั้งที่สะท้อนประชาธิปไตยของประเทศ เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สามารถสร้างเสริมให้เกิด "ประชาธิปไตยภายในพรรคการเมือง" (intra-party democracy)  ได้ ในประเทศไทยนั้น ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้พรรคการเมืองต้องดำเนินการจัด “การเลือกตั้งขั้นต้น” (primary election) เพื่อสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งนี้ กระบวนการการเลือกตั้งขั้นต้นดังกล่าวผูกโยงกับเงื่อนไขที่ว่าพรรคการเมืองต้องมี “สาขาพรรคการเมือง” หรือ “ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด” ที่มีพื้นที่รับผิดชอบในเขตเลือกตั้งต่างๆ และยังต้องมีจำนวนสมาชิกพรรคที่มีภูมิลำเนาที่อยู่ในเขตเลือกตั้งนั้นตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดด้วย อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2562 ยังไม่ได้มีการนำกระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นนี้มาใช้ เพราะถูกยกเว้นโดยคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แต่หากมีการเลือกตั้งใหม่และยังคงเป็นกติกานี้ พรรคการเมืองจะต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาว่า 1) เหตุใดระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 จึงไม่สามารถปฏิบัติได้จริง และ 2) รูปแบบและกระบวนการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงในประเด็นใด ทั้งในเชิงกฎหมายและการปฏิบัติ เพื่อให้เกิด “ตัวแบบ” ที่เป็นระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยและสามารถปฏิบัติจริงได้

Moderator: Napaphat Satchanawakul

ชมย้อนหลังได้ที่

Facebook Watch: https://fb.watch/v/22hoaloln/

ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้ที่

Website : www.ipsr.mahidol.ac.th
Facebook : IPSRMAHIDOLUNIVERSITY

July 14, 2021